24 ตุลาคม วันสหประชาชาติ (United Nations Day)

24 ตุลาคม วันสหประชาชาติ (United Nations Day)

ประวัติ UN

  • หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 : การประชุมสันติภาพ ณ กรุงปารีส (The Paris Peace Conference) เห็นชอบให้มีการจัดตั้งสันนิบาตชาติ
  • 28 มิถุนายน 2462 (ค.ศ. 1919) : สันนิบาตชาติ (The League of Nations : LN)
  • สมาชิกก่อตั้ง : 42 ประเทศ
  • สำนักงานใหญ่ : นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
  • จุดมุ่งหมาย : ป้องกันสงครามและความขัดแย้งในอนาคต
  • 24 ตุลาคม 2488 (ค.ศ.1945) : สหประชาชาติ (United Nations : UN)
  • ประเทศร่วมก่อตั้ง 51 ประเทศ
  • กฎบัตรสหประชาชาติ (UN Charter)
    • มีเนื้อหาเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และหลักการ ตลอดจนกระบวนการดำเนินงานและบริหารงานต่างๆ ขององค์การสหประชาชาติ ถือเป็นตราสารก่อตั้งที่สถาปนาองค์การให้เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ
  • มีผลบังคับใช้หลังจากที่ประเทศจีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และประเทศอื่น ๆ จำนวน 46 ประเทศ ให้สัตยาบัน
  • การประชุมสมัชชาฯ ครั้งแรก : กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร (10 ม.ค. 2489)
  • สำนักงานใหญ่ : นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกาศ
  • สมาชิก : 193 ประเทศ (ประเทศสมาชิกล่าสุด คือ สาธารณรัฐเซาท์ซูดาน – 9 ก.ค. 2554)

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
  2. เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างประชาชาติทั้งหลาย โดยเคารพหลักการแห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเอง
  3. เพื่อให้บรรลุถึงความร่วมมือระหว่างประเทศในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมหรือมนุษยธรรม และการส่งเสริม/สนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพสำหรับทุกคน โดยไม่เลือกปฏิบัติในเรื่องเชื้อชาติ เพศ ภาษาหรือศาสนา
  4. เพื่อเป็นศูนย์กลางสำหรับประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งหลายให้กลมกลืนกัน

หลักการสำคัญของสหประชาชาติ

  1. หลักความเสมอภาคในอธิปไตย : ทุกรัฐมีความเสมอภาคกันในอำนาจอธิปไตย ประเทศสมาชิกสหประชาชาติจึงมีสิทธีเสียงเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นประเทศใหญ่หรือเล็ก
  2. หลักความมั่นคงร่วมกัน : ประเทศสมาชิกต้องรวมกำลังกันเพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงร่วมกัน โดยต้องยอมรับและปฏิบัติตามข้อผูกพันตามกฎบัตร โดยเฉพาะคำวินิจฉัยของคณะมนตรีความมั่นคงระหว่างประเทศ
  3. หลักเอกภาพระหว่างมหาอำนาจ : กฎบัตรให้ความรับผิดชอบพิเศษแก่มหาอำนาจ 5 ประเทศเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงระหว่างประเทศ และให้สิทธิยับยั้ง (Veto)
  4. หลักการไม่ใช้กำลังและการระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี : เพื่อจำกัดความขัดแย้งทั้งหลายให้อยู่ในขอบเขต ไม่กระทบสันติภาพโดยส่วนรวม
  5. หลักความเป็นสากลขององค์กร : เปิดกว้างแก่รัฐที่รักสันติทั้งปวง และให้ประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกพึงปฏิบัติตามหลักการของสหประชาชาติเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาสันติภาพ
  6. หลักการเคารพเขตอำนาจศาลภายใน : ไม่มีข้อความใดในกฎบัตรที่ให้อำนาจแก่สหประชาชาติเข้าแทรกแซงกิจการที่อยู่ในเขตอำนาจภายในของรัฐ

ไทยกับสหประชาติ

  • ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหประชาชาติ
    • ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2489 (ค.ศ. 1946)
    • นับเป็นลำดับที่ 55
  • สำนักงานสหประชาชาติในประเทศไทย
    • สำนักงานของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) ตั้งอยู่ที่ กรุงเทพฯ
    • หัวหน้าสำนักงานดำรงตำแหน่งเลขาธิการบริหาร (Executive Secretary) และผู้ช่วยเลขาธิการสหประชาชาติ (Under-Secretary-General) ปัจจุบันได้แก่ นาง Armida Salsiah Alisjahbana (ชาวอินโดนิเซีย) ซึ่งรับตำแหน่งเมื่อ 13 กันยายน พ.ศ. 2561  
    • เป็นที่ตั้งขององค์การระหว่างประเทศที่ดำเนินการภายใต้กรอบของสหประชาชาติ และองค์การอื่นๆมากกว่า 30 สำนักงาน เช่น FAO ICAO UNAIDS UNDP UNESCO UNHCR UNICEF UNODC โดยมี UN Country Team เป็นหน่วยประสานงาน ซึ่งปัจจุบัน ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทยที่ดูแลกำกับ UN Country Team ได้แก่ นาง Gita Sabharwhal (ชาวอินเดีย) ซึ่งรับตำแหน่งเมื่อ 15 มีนาคม พ.ศ. 2563

ที่มา : กระทรวงการต่างประเทศ, https://www.un.org/

 


image วิดีโอ

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar