การทำเกษตรมูลค่าสูงภายใต้ BCG Model

จากนโยบายรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมเศรษฐกิจ BCG Model ในทุกๆ ด้าน โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) ครั้งที่ 1/2564 หวังดึงคนรุ่นใหม่ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG เพิ่มรายได้ประเทศ

รัฐบาลมีเป้าหมายพัฒนาให้ประเทศไทยให้เป็นประเทศที่มีรายได้สูง ขณะที่ประชาชนที่เป็นเกษตรกรอยู่ในภาคการเกษตรมีจำนวนมากกว่า 10 ล้านคน จึงต้องหาวิธีการใหม่ เพื่อใช้พื้นที่เกษตรให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับวาระของโลก อาทิ การลดปริมาณขยะ ลดการใช้พลังงานฟอสซิล สภาพภูมิอากาศเปลี่ยน ภัยพิบัติ การกัดเซาะชายฝั่ง เป็นต้น นายกรัฐมนตรียังชื่นชมแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2569 โดยเน้นดึงคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจ BCG ใช้จุดเด่นและศักยภาพของประเทศไทยในเรื่องของการเกษตร สาธารณสุข การท่องเที่ยว เพิ่มขีดความสามารถให้มากขึ้น โดยจะประกาศให้ BCG เป็นวาระแห่งชาติ เช่นเดียวกับนโยบายประเทศไทย 4.0 และจะต้องสำเร็จภายใน 5 ปี ลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ รวมถึงให้ประเทศไทยเป็นดินแดนแห่งความปลอดภัยในด้านสาธารณสุข และจะนำแผนยุทธศาสตร์ฯ ฉบับนี้เป็นกรอบการทำงานของงบประมาณปี 2565 ดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ด้วย

ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2569 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1: สร้างความยั่งยืนของฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพด้วยการจัดสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ ยุทธศาสตร์ที่ 2: การพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งด้วยทุนทรัพยากร อัตลักษณ์ ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ใช้ศักยภาพของพื้นที่โดยการระเบิดจากภายใน เน้น “ความหลากหลายทางชีวภาพ” และ “ความหลากหลายทางวัฒนธรรม” ยกระดับมูลค่าในห่วงโซ่การผลิตสินค้าและบริการให้มีมูลค่าสูงขึ้น ยุทธศาสตร์ที่ 3: ยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้เศรษฐกิจ BCG ให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืนด้วยความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาให้ความสำคัญกับระบบการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แบบ “ทำน้อยได้มาก” และยุทธศาสตร์ที่ 4: เสริมสร้างความสามารถในการตอบสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก สร้างภูมิคุ้มกันและความสามารถในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างเท่าทันเพื่อบรรเทาผลกระทบ ทั้งนี้ การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2569 อยู่บนพื้นฐานของ 4 + 1 ประกอบด้วย 4 สาขายุทธศาสตร์ คือ 1.เกษตรและอาหาร 2.สุขภาพและการแพทย์ 3.พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ และ 4.การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และ 1 ฐานความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นทุนพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศและการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน

ปัจจุบันด้านการเกษตรรัฐบาล มีการขับเคลื่อนโครงการข้ารักษ์โลก BCG Model ที่เห็นผลเชิงประจักษ์ คือ เอาการตลาดนำการเพาะปลูกโดยประสานภาคีโรงสีว่าต้องการพันธ์ข้าวอะไรแล้วจึงให้กรมการข้าวจัดหาเมล็ดพันธุ์ข้าวให้กับเกษตรกรในโครงการ เกษตรกรปรับเปลี่ยนวิธีการทำนามาเป็นการทำนาแบบประณีตโดยการใช้จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรแทนการใช้ปุ๋ยเคมีสารเคมียาฆ่าแมลงและยาฆ่าหญ้า ทำให้เกิดการลดต้นทุนในการเพาะปลูกและยังทำให้ผลผลิตมีคุณภาพปลอดสารพิษ ดีต่อสุขภาพทั้งผู้ปลูกและผู้บริโภค B = Biotechnology Economy เศรษฐกิจชีวภาพ ในกระบวนการเพาะปลูกส่งเสริมให้ทำการไถ่กลบต่อซังข้าวแล้วทำการฉีดพ่นด้วยจุลินทรีย์เพื่อทำการย่อยสลายเป็นปุ๋ยธรรมชาติกลับคืนสู่ดินไป ทำให้เกิดการลดต้นทุนในการเพาะปลูก C = Circular Economy ในกระวนการไถ่กลบตอซังข้าวไม่เผาฟางไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และการย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์จะไม่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ลดสภาวะโลกร้อน G = Green Economy เศรษฐกิจสีเขียว และในโครงการได้ทำการส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ไปช่วยในการลดต้นทุนการเพาะปลูกประหยัดเวลาเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยผลลัพธ์เชิงประจักษ์พบว่า เกษตรกรไม่ต้องสัมผัสกับสารเคมีมีสุขภาพที่ดี่เพิ่มขึ้น ลดต้นทุนในการเพาะปลูกลงได้ 2,000 บาท/ไร่ ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากที่เคยปลูก หอมมะลิ 105 ได้ 300-350 กิโลกรัม/ไร่ ไปเป็น 580-640 กิโลกรัม/ไร่ ผลผลิตมีคุณภาพปลอดสารพิษทดีต่อสุขภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยกระบวนการเพาะปลูกข้าวในแบบนี้จะไม่ทำการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเลย ซึ่งในอนาคตจะทำการตวรจรับรองเครดิตคาร์บอนนี้เพื่อเข้าสู่กระบวนการขายเครดิตคาร์บอนแล้วนำเงินกลับมาให้ชาวนาและเกษตรกรต่อไป ในภาพรวมเกษตรกรมีความพึงพอใจกับโครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model ที่สามารถช่วยลดต้นทุนในการเพาะปลูก ผลผลิตมีคุณภาพ จำหน่ายได้ในราคาที่ดีขึ้น เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น เกิดการแบ่งปันกันในสังคม เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และทำให้คุณภาพชีวิตดีเพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน

อีกทั้งรัฐบาลเตรียมที่จะจัดทำ โครงการเกษตรรักษ์โลก BCG Model ที่เป็นการทำการเกษตรมูลค่าสูงภายใต้ BCG Model ที่ทำการเปลี่ยนแปลงการใช้ปุ๋ยเคมีสารเคมียาฆ่าแมลงย่าฆ่าหญ้าสารเร่งดอกสารจับใบ มาเป็นการใช้จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรแทนที่ เพื่อลดต้นทุนในการเพาะปลูกลงและทำให้ผลผลิตดีมีคุณภาพและจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น B = Biotechnology Economy เศรษฐกิจชีวมวล ส่งเสริมให้นำวัชพืชกิ่งไม้ใบไม้มาทำปุ๋ยธรรมชาติด้วยการย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์เพื่อการเกษตร ทำให้เกิดการนำของเหลือใช้กลับหมุนเวียนมาเป็นประโยชน์ใหม่ ลดต้นทุนในการผลิต Circular Economy เศรษฐกิจหมุนเวียน และ ในกระบวนการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ด้วยจุลินทรีย์ และการบำบัดน้ำเสียจากการทำการเกษตรด้วยจุลินทรีย์ จะไม่มีการปล่อยก๊าซมีเทนออกไป ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดโลกร้อน G = Green Economy เศรษฐกิจสีเขียว


image รูปภาพ
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar