ความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ ในสถานการณ์ COVID- 19 ของประเทศไทย



นับตั้งแต่การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 เป็นต้นมา รัฐบาลได้ออกมาตรการต่าง ๆ ในการควบคุมการแพร่ระบาด คือ ห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยงต่อการติดต่อโรค, ห้ามเดินทางเข้า – ออก นอกประเทศ,  ห้ามเดินทางข้ามเขตจังหวัด, ห้ามออกนอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด, ปิดสถานที่ท่องเที่ยว สนามกีฬา สถานบริการ, มาตรการกักตัว 14 วัน, ห้ามชุมนุม หรือมั่วสุม หรือจัดกิจกรรมที่มีคนมารวมตัวกันเป็นจำนวนมาก รวมถึงการประกาศเคอร์ฟิวทั่วประเทศในช่วงเวลา 22.00 – 04.00 น. หรือที่เรียกว่ามาตรการ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” จากการควบคุมดังกล่าวส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม ธุรกิจปิดตัว ประชาชนตกงาน และมีรายได้ลดลง 

ดังนั้น รัฐบาลจึงได้มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ ออกมาเป็นระยะ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ได้แก่ มาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากโรคโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและ ทางอ้อมระยะ 1-3, มาตรการบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนและผู้ประกอบการธุรกิจจากการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อโรคโควิด-19 ในระลอกใหม่ (ระลอกสอง) เช่น โครงการเราชนะ คนละครึ่ง ม 33.เรารักกัน เราเที่ยวด้วยกัน โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ ฯลฯ, มาตรการทางการเงินการคลัง เช่น การลดดอกอัตราดอกเบี้ย การลดสินเชื่อธุรกิจ และมาตรการเพื่อเป็นลดผลกระทบของการว่างงานเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น จ้างนักศึกษาจบใหม่ โครงการสร้างงาน สร้างอาชีพ  ฯลฯ ซึ่งมาตรการเหล่านี้ช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในช่วงวิกฤตโควิด-19 ดีขึ้น และหลังจากการแพร่ระบาดเริ่มลดลง รัฐบาลก็ยังคงมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ไว้ ทำให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว
 


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar