รองผวจ.สุราษฎร์ธานีเป็นประธานพิธีวางพานพุ่มถวายสักการะพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย

องผวจ.สุราษฎร์ธานีเป็นประธานพิธีวางพานพุ่มถวายสักการะพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย และกล่าวคำสดุดีพระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย และวันสหกรณ์แห่งชาติ ประจำปี 2566 ครบรอบ 107 ปี

วันนี้ (26 ก.พ.66) นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี มอบหมายให้ นายมนตรา พรมสินธุ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานพิธีวางพานพุ่มถวายสักการะ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย และกล่าวคำสดุดีพระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย และวันสหกรณ์แห่งชาติ ประจำปี 2566 ครบรอบ 107 ปี

จากนั้นรองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี อ่านสารจาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เนื่องในวันสหกรณ์แห่งชาติ ประจำปี 2566 ได้มอบประกาศเกียรติคุณ และสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยมอบเงินสนับสนุนจำนวน 10,000 บาท โดยมีสมาชิกสหกรณ์เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้เป็นจำนวนมาก

พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส เป็นโอรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ และเจ้าจอมมารดาเลี่ยม ประสูติเมื่อวันพุธที่ 10 มกราคม 2419 ทรงมีพระชันษา 5 ขวบ ทรงอ่านหนังสือได้คล่องใฝ่พระทัยทรงโปรดการอ่านหนังสือขอม โคลงกลอน ร้อยแก้ว เรื่องอิเหนา รามเกียรติ์สามก๊ก และเรื่องจีนอื่น ๆ จนทรงมีพระอัจฉริยภาพในด้านภาษา และสามารถแต่งกลอนได้ ขณะทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ทรงเล็งเห็นว่า การจะช่วยกู้ฐานะชาวนาให้พ้นจากภาวะหนี้สินพอกพูนได้นั้นก็คือ การจัดตั้งสหกรณ์ ทรงส่งเสริมให้มีการทดลองจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นเป็นแห่งแรกคือ สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้ ที่จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2459 โดยทรงตำแหน่งนายทะเบียนสหกรณ์เป็นพระองค์แรกของประเทศไทย และทรงเป็นผู้นำในการเผยแพร่อุดมการณ์หลักการและวิธีการสหกรณ์ เพื่อให้สมาชิกช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน จนเป็นที่แพร่หลายไปทั่วราชอาณาจักร ทรงส่งเสริมให้มีการกำหนดระเบียบ ข้อบังคับ และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อควบคุมการตรวจสอบบัญชี การรับส่งเงิน และแนะนำวิธีการดำเนินงานสหกรณ์ รวมทั้งพัฒนางานสหกรณ์ ทำให้มีการก่อตั้งสหกรณ์ประเภทต่างๆ อย่างแพร่หลาย ด้วยพระปรีชา สามารถที่ทรงมีคุณูปการต่อระบบสหกรณ์ในประเทศไทย ส่งผลให้เกษตรกรและสมาชิกพ้นจากภาวะหนี้สิน มีทุนในการประกอบอาชีพ มีความเป็นอยู่ ที่พอมีพอกิน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระเกียรติคุณอันยิ่งใหญ่ที่ควรค่าต่อการน้อมรำลึกถึงจึงทรงได้รับการยกย่องจากขบวนการสหกรณ์ไทยว่าทรงเป็นพระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย

ที่มา : https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG230226114350732


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar