"เศรษฐกิจ​ BCG" โมเดลใหม่พัฒนาชาติ​ ยุคไทยแลนด์​ 4.0​ นายกฯย้ำ!! ปชช.ต้องได้ประโยชน์สูงสุด

“เศรษฐกิจ BCG” เป็นทฤษฎีใหม่ในการพัฒนาประเทศ ที่นายกฯ ประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติควบคู่กับ “ไทยแลนด์ 4.0” แต่หลายคนอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับ BCG ว่ามีสาระสำคัญอย่างไร

 

BCG เป็นทฤษฎีเศรษฐกิจใหม่ ประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ Bio – Circular – Green Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว นอกจากจะตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติแล้ว ยังสอดรับหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่เป็นพื้นฐานของสังคมไทย

 

B >> Bio Economy คือ เศรษฐกิจชีวภาพ

การนำความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมยุคใหม่ มาพัฒนาต่อยอดพื้นฐานด้านทรัพยากรชีวภาพหรือผลผลิตทางการเกษตร ที่ไทยมีความเข้มแข็งเป็นทุนเดิม เพื่อยกระดับและเพิ่มมูลค่าให้ผลผลิต เช่น พัฒนาพันธุ์ข้าวให้มีสารอาหารเพิ่มขึ้น

 

C >> Circular Economy คือ เศรษฐกิจหมุนเวียน

การนำทรัพยากรหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประโยชน์ไปแล้ว กลับมาแปรรูปในกระบวนการผลิตอีกครั้ง เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ นอกจากจะร้างมูลค่าให้ขยะแล้ว ยังลดปริมาณขยะภาคการผลิตให้เป็นศูนย์ (ZERO WASTE) เช่น นำขยะพลาสติกบางชนิดมาผลิตใหม่โดยไม่ลดคุณภาพ

 

G >> Green Economy คือ เศรษฐกิจสีเขียว

การใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ใช้สารชีวภัณฑ์แทนสารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช การฟอกกระดาษด้วยเอนไซม์จากจุลินทรีย์

 

ใช้ BCG ขับเคลื่อน “ไทยแลนด์ 4.0”

รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศให้ “เศรษฐกิจ BCG” เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อมาขับเคลื่อนนโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” จึงมีคำสั่งตั้งคณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว และคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model ขึ้นมากำหนดทิศทาง

 

?? ยุทธศาสตร์คือการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พัฒนาประเทศ บนความสมดุลย์ระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีเศรษฐกิจเป้าหมาย 4 กลุ่ม คือ

1. อาหารและการเกษตร

2. สุขภาพและการแพทย์

3. พลังงาน วัสดุ เคมีชีวภาพ

4. การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์

 

ที่ผ่านมา นายกฯ สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งสนับสนุนนักวิทยาศาสตร์ไทยในการศึกษาวิจัย เพื่อดึงศักยภาพของทรัพยากรทางชีวภาพที่หลากหลายในแต่ละพื้นที่มาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจภายใต้หลัก BCG โดยประชาชนจะต้องได้รับประโยชน์สูงสุด

 

ทฤษฎีเศรษฐกิจ BCG นอกจากจะตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติแล้ว ยังสอดรับหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่เป็นพื้นฐานของสังคมไทย


image รูปภาพ
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar