“ข้าวรักษ์โลก” กับการแก้ไขปัญหาข้าวไทย

ปัญหาของข้าวไทย เป็นปัญหาที่รัฐบาลพยายามที่จะกำหนดนโยบายและหรือโครงการต่างๆ เข้าไปเพื่อเป็นการช่วยเหลือและสนับสนุนชาวนาและเกษตรกรไทยในการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อที่ต้องการให้ชาวนาและเกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยสามารถสรุปปัญหาต่างๆ ได้ดังนี้
1. ต้นทุนการผลิตที่สูงมาก ปัจจุบันราคาปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ๋าหญ้ามีราคาที่สูงเพิ่มมากขึ้น แรงงานในการทำนาไม่มีจึงต้องใช้เครื่องจักรโดยการเช้า ราคานำ้มันที่สูงเพิ่มขึ้น ทั้งหมดนี้จึงเป็นแรงส่งทำให้ต้นทุนในการเพาะปลูกของชาวนาและเกษตรกรสูงขึ้น
2. คุณภาพข้าวที่ลดลง จากการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดของรัฐบาลที่ผ่านมาทำให้ชาวนาไม่สนใจถึงการทำนาข้าวเพื่อให้ได้คุณภาพเลย เร่งแต่ทำนาเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมามากที่สุดโดยใช้สารเคมีปุ๋ยเคมีที่หวังว่าจะได้จำนวนข้าวที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ได้สนใจถึงคุณภาพและสารพิษที่ตกค้างในข้าวแต่อย่างใดเพื่อนำไปขายในระบบจำนำข้าวของรัฐบาลที่ผ่านมา อันส่งผลกระทบถึงกระบวนการผลิตข้าวไทยพังทั้งระบบ 
3. ราคาขายข้าวที่ตกต่ำ จากการผลิตข้าวที่มีคุณภาพต่ำปนเปื้อนสารพิษและผลิตออกมาจำนวนมาก และทำการส่งออกไปยังต่างประเทศแล้วผลจากตอบรับผู้บริโภคพบว่าคุณภาพข้าวไทยตกต่ำเป็นอย่างมากปั๗๗ุบันจากเป็นผู้นำด้านข้าวอันดับที่ 1 ตกลงเป็นอันดับที่ 3 ไปแล้ว อินเดีย และเวียดนามแซงขึ้นไปแทน
4. ชาวนาไม่มีที่นาทำกินเป็นของตนเอง กว่า 50% ทั่วประเทศชาวนาไม่มีที่ทำกินเป็นของตนเองทำการเช่าที่นาทำกินจึงทำให้ต้นทุนในการเพาะปลูกเพิ่มขึ้น และการส่งเสริมจากทางภาครัฐในลักษณะการแจกจ่าย จะไม่ถึงมือเกษตรกรเลยเพราะนายทุนเจ้าของนาเองนั้นก็ลงทะเบียนเป็นเกษตรกรเพื่อรอรับงบประมาณสนับสนุนแจกจ่ายจากทางภาครัฐจึงเป็นโครงการไม่ได้ก่อเกิดประโยชน์กับเกษตรกรเลย อีกทั้งในส่วนเกษตรกรที่มีที่ทำกินเป็นของตนเองนั้นส่วนใหญ่ 80% มีที่ดินเพียง 10-20 ไร่เท่านั้น และในพื้นที่ภาคอีสานเองนั้นส่วนใหญ่ทำได้แต่นาปีเท่านั้นคือปีละครั้ง ชาวนาทำนาปีละ 5-6 เดือนได้ผลผลิต 300 กิโลกรัมต่อไร่ หากเพาะปลูกข้าวหอมมะลิ 105 ราคาขาย 12,000 บาทต่อตัน ชาวนาที่มีที่ดิน 10 ไร่จะขายข้าวได้ 36,000 บาท หักค่าใช้จ่าย 4,500 บาทต่อไร่ สรุปขาดทุน 9,000 บาท
5. การปลูกข้าวแบบผสมไม่เป็นไปตามความต้องการของตลาด ปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวตามๆ กันไม่ได้ดูเลยว่าตลาดต้องการข้าวอะไรและการเพาะปลูกใช้เมล็ดพันธ์ข้าวที่ไม่มีมาตราฐานอีกทั้งเพราะปลูกผสมผสานหลายชนิดในพื้นที่เวลาเก็บเกี่ยวข้าวปนเปื้อนจึงทำให้ได้ข้าวที่ไม่มีคุณภาพข้าวปนเปื้อนจึงทำให้ราคาข้าวตกต่ำ 
6. ขาดแคลนทรัพย์กรน้ำในการเพาะปลูก ในหลายพื้นที่เพาะปลูกข้าวอยู่นอกเขตชลประทานมีปัญหาขาดแคลนทรัพย์กรน้ำในการเพาะปลูกโดยเฉพาะภาคอีสานประสบปัญหาด้านนี้เป็นอย่างมาก ฝนตกมากก็น้ำท่วม ผนไม่ตกก็แล้ง 

จากปัญหาข้าวไทยที่เกิดขึ้นมานี้ทางรัฐบาลโดยท่านนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงได้กำหนดแนวทางใหม่ให้ชาวนา “ปฏิวัติการทำนาสู่ความยั่งยืน” ด้วยการส่งเสริม โครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model โดยเอาการตลาดนำการผลิตเพื่อกำหนดชนิดพันธ์ข้าวให้เป็นไปตามที่โรงสีหรือตลาดต้องการและให้กรมการข้าวส่งเสริมสนับสนุนเมล็ดพันธ์ข้าวที่ดีมีมาตราฐานให้กับโครงการ และทำการส่งเสริมให้ชาวนากลับมาทำนาอย่างประณีต ใช้จุลินทรีย์เพื่อการเกษตร แทนปุ๋ยเคมี สารเคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า เพื่อลดต้นทุนในการผลิตและเกษตรกรไม่ต้องสัมผัสสารเคมี ผลผลิตข้าวที่ได้ปลอดสารพิษ ดีต่อสุขภาพผู้บริโภค ในกระบวนการไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดสภาวะโลกร้อน และส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยี่ต่างๆ เช่น โดรนเพื่อการเกษตร เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานทางเลือกแบบหมุนเวียน ที่ทำให้เกิดการลดต้นทุนในการเพาะปลูกลงเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล และเมื่อผลผลิตข้าวออกมาจะเป็นข้าวที่ดีมีคุณภาพ เป็นไปตามความต้องการของตลาด โรงสีกลับมารับซื้อข้าวในราคาที่ดีและเหมาะสม จากผลลัพธ์เชิงประจักษ์ของการจัดทำโครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model โครงการนำร่องระยะที่ 1 พบว่าผลผลิตข้าวต่อไร่ในภาคอีสานเพิ่มขึ้นสูงถึง 550 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาขายข้าวได้ราคาสูงถึง 13,000-14,000 บาทต่อตัน หากคิดที่ราคาขาย 13,000 บาทต่อตันแล้ว ต้นทุนในการเพาะปลูกเหลือ 2,500 บาทต่อไร่แล้วเกษตรกรเหลือกำไร 4,650 บาทต่อไร่ จึงเป็นการแก้ปัญหาอย่างตรงจุดตรงประเด็นในเรื่อง ลดต้นทุนในการผลิต ทำให้คุณภาพข้าวดีมีคุณภาพ และเมื่อข้าวดีมีคุณภาพโรงสีกลับมารับซื้อในราคาที่สูงเพิ่มขึ้น

โครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model โครงการนำร่องระยะที่ 1 จำนวน 20 กองทุนหมู่บ้าน เป็นโครงการของ สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ภายใต้การบริหารของ นายอนุชา นาคาศัลย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายเบญจพล นาคประเสริฐ ผอ.สทบ ที่จัดทำโครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model ที่เป็นไปตามแนวทาง “ปฏิวัติการทำนาสู่ความยั่งยืน” ของท่านนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และได้ผลลัพธ์เชิงประจักษ์ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ ‘ข้าวรักษ์โลก” เกรดพรีเมียม นำไปอวดโฉมในเวทีระดับโลก APEC2022 ที่ต้องการสื่อสารการตลาดในระดับโลกให้นานาชาติรับรู้ว่าข้าวไทยเป็นข้าวที่ดีมีคุณภาพ ปลอดสารพิษ ดีต่อสุขภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

และเพื่อเป็นการยกระดับโครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model ทางรัฐบาลจึงให้ กรมการข้าว กระทรวงเกษตร ทำการยกระดับโครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model โดย นายณัฏกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว ได้จัดทำยุทธศาสตร์ “การปฏิวัติการทำนาสู่ความยั่งยืน” ที่จะเป็นการส่งเสริมโครงการต่างๆ อาทิเช่น โครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model โครงการโรงสีข้าวพลังงานอัจฉริยะ โครงการเครื่องอบเมล็ดข้าว โครงการแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธ์ข้าว โครงการยุ้งฉางข้าว silo ในระดับ ตำบลผ่านศูนย์ข้าวชุมชน และในระดับ อำเภอผ่านศูนย์บริหารจัดการข้าว และในระดับจังหวัดผ่าน ศูนย์เมล็ดพันธ์ข้าว กรมการข้าวที่มีอยู่ 57 ศูนย์ทั่วประเทศ 

อีกทั้งยังมีความร่วมมือของ 4 สมาคม ภายใต้ MOU ที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาและส่งเสริม “การปฏิวัติการทำนาสู่ความยั่งยืน” ตามแนวทางของท่านนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา    ที่ประกอบด้วย สมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลก น.ท.ดร.ภณ ทัพพินท์กร นายกสมาคมฯ , สมาคมศูนย์ข้าวชุมชน (ประเทศไทย) นายภาคิณ มุสิกสุวรรณ นายกสมาคมฯ, สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมฯ และ สมาคมโรงสีข้าวไทย นายรังสรรค์ สบายเมือง นายกสมาคมฯ โดยการร่วมมือดังกล่าว ทางสมาคมโรงสีข้าวไทยจะเป็นผ็กำหนดชนิดของข้าวที่โรงสีต้องการในแต่ละพื้นที่และเป็นผู้ที่จะกลับมาซื้อข้าวรักษ์โลกเมื่อทำการเก็บเกี่ยว กรมการข้าวผ่านสมาคมศูนย์ข้าวชุมชนกำหนดขอบเขตการผลิต zone ให้เป็นไปตามความต้องการของตลาดและจัดหาเมล็ดพันธ์ให้ตรงตามความต้องการ สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทยส่งเสริมประชาสัมพันธ์โครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model ให้ชาวนาและเกษตรกรเข้าถึงเข้าใจโครงการ สมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลก ช่วยเหลือส่งเสริม อบรมให้ควมรู้ กำกับดูแล โครงการ และติดตามความก้าวหน้าของโครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model ในระดับกองทุนหมู่บ้านผ่านสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และในระดับตำบลและอำเภอผ่าน กรมการข้าวกระทรวงเกษตร 

จากความร่วมมือกันของทางภาครัฐและสมาคมฯ เพื่อที่จะเข้ามาช่วยเหลือส่งเสริมชาวนาและเกษตรกรไทย ด้วยการจัดทำโครงการที่ดีมีประโยชน์ มอบคันเบ็ดตกปลา ให้กับชาวนา ทำการปฏิวัติการทำนาสู่ความยั่งยืน ทำให้ชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้น เกิดการแบ่งปันกันในสังคม รักษาสิ่งแวดล้อม และมีคุณภาพชีวิตที่ดีเพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนต่อไป 

และเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 สมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลก ได้เข้าพบ ท่านชาธิป รุจนเสรี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อนำเสนอโครงการ ข้าวรักษ์โลก BCG Model ที่ต้องการยกระดับเป็น กำแพงเพชรโมเดล ภายใต้ยุทธศาสตร์ นา น้ำ นวัตกรรม โดยท่านผู้ว่าจะทำการจัดประชุมหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและยกระดับสู่ โครงการข้าวรักษ์โลก BCG Model กำแพงเพชรโมลเดล ที่เป็นการส่งเสริมพัฒนาในระดับจังหวัดที่สามารถบูรณาการได้ในหลายมิติและสามารถทำการจัดสรรทรัพย์กรที่มีอยู่ให้ก่อเกิดประโยชน์ได้อย่างสูงสุดอย่างแท้จริง


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar