รณรงค์การใช้ผ้า ร่วมใจใช้ถุงผ้า ลดปัญหาพลังงาน ฝ่าวิกฤติโลกร้อน

พลาสติกเป็นสารประกอบพวกไฮโดรคาร์บอน (Hydro Carbon) ประกอบด้วยธาตุสำคัญ คือ คาร์บอน,ไฮโดรเจน, และออกซิเจน นอกจากนี้อาจมีธาตุที่เป็นส่วนประกอบย่อย เช่น ไนโตรเจน, ฟลูออรีน, คลอรีน, และกำมะถัน เป็นต้น พลาสติกที่ใช้กันในปัจจุบัน เช่น ถุง กล่อง ท่อ แผ่นฟิล์ม ผลิตจากน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นสารไฮโดรคาร์บอนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติใต้ผิวดิน ที่มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เนื่องจากเป็นทั้งแหล่งพลังงาน และแหล่งวัตถุดิบสำหรับผลิตวัสดุสังเคราะห์มากมาย

     การผลิตพลาสติกเกิดจากการกลั่นลำดับส่วนน้ำมันดิบ เพื่อแยกเอาสารประกอบไฮโดรคาร์บอน และผ่านกระบวนการแยกสลาย จนได้เป็นสารประกอบขนาดเล็ก เช่น ก๊าซเอทธิลีน และโพรพิลีน ซึ่งใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตพลาสติกชนิดต่างๆ

ทำไมต้องลดการใช้ถุงพลาสติก

     ในแต่ละปีทั่วโลกใช้ถุงพลาสติกถึงแสนล้านใบ แต่ถุงพลาสติกที่ถูกนำมารีไซเคิลมีไม่ถึงร้อยละ 1 เนื่องจากต้นทุนการผลิตใหม่ถูกกว่า ปัจจุบันมีการทิ้งขยะถุงพลาสติกลงทะเลแล้วประมาณ 3 ล้านกิโลกรัม และยังคงมีการทิ้งอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากยังไม่มีมาตรการควบคุมการใช้ถุงพลาสติกและการทิ้งถุงพลาสติกที่ เข้มงวดและกว้างขวาง

      ปัจจุบันคงไม่มีใครไม่รู้จักปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global warming) ความเกี่ยวโยง ระหว่างการใช้ถุงพลาสติกกับภาวะโลกร้อน คือ ถุงพลาสติกที่เราใช้ใส่สินค้าและอาหาร ผลิตจากน้ำมันดิบและยังใช้เชื้อเพลิงในการผลิตอีกด้วย ซึ่งพลังงานที่ใช้ผลิตถุงพลาสติกประมาณ 9 ใบ สามารถเปลี่ยนเป็นน้ำมันให้รถวิ่งได้ไกลถึง 1 กิโลเมตร

      เนื่องจากถุงพลาสติกสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ในปริมาณมาก ด้วยต้นทุนที่ต่ำ ที่สำคัญที่สุดคือมีอายุการใช้งานสั้น ส่วนใหญ่เป็นการใช้เพียงครั้งเดียวโดยเฉพาะหูหิ้ว ดังนั้นขยะถุงพลาสติกจึงเป็นภาระอย่างยิ่งในการจัดเก็บ ขนส่งและกำจัด เนื่องจากคุณลักษณะที่เบาบางและมีปริมาณมาก ปะปนกับขยะประเภทอื่นได้ง่าย ซึ่งทำให้การย่อยสลายขยะอื่นเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น ดังนั้นยิ่งมีการใช้ถุงพลาสติกมากเท่าไหร่ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศโลกจากการผลิตและกำจัดขยะถุง พลาสติกก็จะยิ่งสูงมากขึ้นขยะถุงพลาสติกเมื่อผุพังก็กลายเป็นขยะชิ้นเล็กๆ ซึ่งสามารถแทรกในชั้นดินและปนเปื้อนในน้ำได้ ผลก็คือชิ้นส่วนเล็กๆ ของพลาสติกเข้าไปสู่ห่วงโซ่อาหาร ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อ พืช สัตว์ มนุษย์ และ สิ่งแวดล้อม 

      แต่ละสัปดาห์คนไทยนำถุงพลาสติกกลับบ้านมากกว่า 100 ล้านถุง หรือมากกว่า 5,000 ล้านถุงต่อปี โดยการผลิตและใช้งานยังคงมีปริมาณมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงเวลาแล้วที่คนไทยจะทบทวนเรื่องใกล้ตัวนี้ และเร่งออกมาตรการเพื่อลดการใช้ถุงพลาสติกอย่างเป็นรูปธรรม หลายประเทศเห็นถึงโทษร้ายแรงของภัยถุงพลาสติก ทำให้มีมาตรการคุมกำเนิดถุงพลาสติกกันอย่างจริงจัง ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดี ตัวอย่างเช่น

- การประกาศห้ามใช้ถุงพลาสติกในบังกลาเทศและออสเตรเลีย

- การเก็บภาษีถุงพลาสติกในไอร์แลนด์

- การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมถุงพลาสติกของไต้หวัน

- ห้างใหญ่ในเมืองฮิโรชิม่า ที่ญี่ปุ่น หากลูกค้าไม้ต้องการถุงพลาสติกจะได้รับแต้มสะสม เพื่อรับสิทธิประโยชน์จากทางห้าง

- ที่สิงคโปร์ร่วมกันรณรงค์ โดยกำหนดให้วันพุธแรกของเดือนเป็นวันพกถุงไปช็อปปิ้ง หากไม่ได้เตรียมถุงไปก็ต้องจ่ายเงินเป็นค่าถุง ใบละ 0.1 เหรียญสิงคโปร์ หรือ ประมาณ 2.50 บาท

- ซานฟรานซิสโก ได้ออกกฎหมายห้ามใช้ถุงพลาสติกเป็นเมืองแรกของอเมริกา

- การประกาศตัวเป็นเมืองปลอดถุงพลาสติกของเมืองลีฟเรปิดส์ ในแคนาดา ผู้ฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษเป็นค่าปรับหนักๆ คิดเป็นเงินไทยมากถึง 30,200 บาท

- สำหรับประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมการรณรงค์ในลักษณะประปราย แต่ที่น่าจะเป็นความหวังคือ การพัฒนาวัสดุทดแทน ได้แก่ พลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการศึกษา ไม่แน่ว่าประเทศไทยอาจมีพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมออกมาใช้พร้อมกับ ที่ฝรั่งเศส ซึ่งได้ออกกฎระเบียบให้เริ่มใช้พลาสติกชีวภาพ ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นไป

 

ลดการใช้ถุงพลาสติกแล้วได้อะไร 

- ลดการเสื่อมโทรมของดิน

- ลดการเสื่อมคุณภาพของน้ำ

- ลดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั้งในน้ำและบนบก

- ลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน

- ลดการเกิดสารปนเปื้อนของสารก่อมะเร็งในห่วงโซ่อาหาร

- ลดการอุดตันในทางระบายน้ำ ส่งผลให้ลดปัญหาน้ำท่วม

- ลดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศน์

- ลดแหล่งเพาะพันธุ์การแพร่กระจายของพาหะนำโรค และการแพร่ระบาดของโรค

- ลดการเกิดอุบัติเหตุของการเดินทางทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ

- ลดการใช้น้ำมันดิบที่ใช้ไปโดยไม่จำเป็น จากการผลิตถุงพลาสติก

จะลดการใช้ถุงพลาสติกได้อย่างไร

- นำถุงผ้า หรือ ภาชนะไปใส่ของแทน เช่น จะไปตลาดก็เอากระเป๋าผ้าและกล่องใส่อาหาร ไปใส่ของแทน ไปซื้อกับข้าวก็เอาปิ่นโตไปแทน

- ฝึกพูดว่า ไม่เอาถุงค่ะ/ครับ กับคนขายของ ให้เป็นนิสัย

- ใช้ถุงพลาสติกแบบย่อยสลายได้

- ต้องใช้งานถุงพลาสติกซ้ำจนหมดสภาพการใช้งาน

 ข้อดีของการใช้ถุงผ้า

- ซักทำความสะอาดง่าย

- นุ่มสบายมือ และไม่ก่อให้เกิดการกดทับอย่างรุนแรงต่อฝ่ามือเท่าถุงพลาสติก

- ย่อยสลายได้ ไม่ตกค้างจนเป็นปัญหาในสิ่งแวดล้อม

- ทนทานและใช้ซ้ำได้มากครั้งกว่าถุงพลาสติก ช่วยลดปริมาณขยะมูลฝอย

- ไม่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ช่วยลดปัญหาโลกร้อน

- บ่งบอกภาวะรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของผู้ใช้

- พกพาติดตัว ติดรถได้ง่าย สามารถพร้อมใช้งานในทุกโอกาส

- ถุงผ้าดิบจะช่วยลดการเกิดและการปนเปื้อนของสารประกอบไดออกซินที่เป็นสารก่อมะเร็งที่มีอันตรายต่อชีวิต

ถ้าคนเราใช้ถุงผ้าสัปดาห์ละ 1 วัน จะช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกได้มากกว่า การใช้ถุงผ้า ช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้  ใช้ถุงผ้าสามารถซักทำความสะอาดได้ง่ายนุ่มสบายมือ ช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ สามารถพกพาติดตัวได้ง่าย และติดรถ พร้อมใช้งานในทุกโอกาส  และเราสามารถตกแต่งรวดลายถุงผ้าได้ตามที่เราต้องการได้ เพราะฉะนั้นเราหันมาใช้ถุงผ้าเพื่อลดภาวะโลกร้อนกันดีกว่าค่ะ 

ข้อมูล  สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดมหาสารคาม


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar