เศรษฐกิจฐานราก คืออะไร ?

          เศรษฐกิจฐานรากหรือเศรษฐกิจชุมชน คือ การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับการผลิต จนไปถึงระดับการบริโภค การมีส่วนร่วมของชุมชนในการคิด การลงมือปฏิบัติ การรับผลประโยชน์ และร่วมกันเป็นเจ้าของ
          ปัญหาด้านโครงสร้างทางเศรษฐกิจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิด ความยากจนและความเหลื่อมล้ำโดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรกรและแรงงานทั่วไป ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่มีรายได้น้อยและไม่มั่นคง โดยในปี 2560 มีประชากรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและแรงงานทั่วไปคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 55.5 และอาชีพอิสระร้อยละ 35 ของกลุ่มประชากรร้อยละ 40 ที่มีรายได้น้อยที่สุด โดยส่วนมากประสบปัญหาการเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ รวมถึงที่ดินทำกิน การเข้าถึงแหล่งทุน ขาดองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสำหรับการวางแผนการพัฒนา รวมทั้งยังมีพฤติกรรมขาดการออมและมีแนวโน้มจะมีหนี้สินที่สะสมเรื้อรัง การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากจึงเป็นความคาดหวังในการที่จะคิดหาวิธีจัดการแก้ไขความยากจนและความเหลื่อมล้ำอย่างถูกต้องและยั่งยืน ดังนั้นการพัฒนาศักยภาพของชุมชนซึ่งเป็นรากฐานของสังคม จึงจำเป็นต้องช่วยกันสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับฐานรากของสังคมให้มุ่งสู่ชุมชนเข็มแข็งและอยู่เย็นเป็นสุข โดยต้องส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ด้วยกระบวนการวางแผนการบริหารการพัฒนาและการวัดผลการพัฒนาด้วย ตัวชี้วัดที่คนในชุมชนท้องถิ่นเป็นผู้จัดการ เป็นผู้คิด เป็นผู้ทำ และเป็นผู้ใช้ประโยชน์ซึ่งเป็นกระบวนการที่จะนำไปสู่การพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนบนเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นและชุมชนพึ่งพาตนเองได้
แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 16 เศรษฐกิจฐานราก
 


ไฟล์เอกสารประกอบ
NS-16_500-513.pdf |

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar