พักชําระหนี้ มาตรการช่วยเหลือ โควิด-19

หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้หลายภาคส่วนธุรกิจ รวมถึงประชาชนทั่วไปได้รับผลกระทบ ธนาคารรัฐและพาณิชย์ จึงได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ทั้งการพักการชำระหนี้ ยืดระยะเวลา รวมถึงเพิ่มวงเงินหมุนเวียนสินเชื่อช่วยโควิด ธ.ออมสิน ให้กู้ 10,000 บาท ดอกเบี้ย 0.35% ไม่ต้องมีคนค้ำ-หลักประกันการกู้
ธนาคารออมสิน เตรียมเปิดให้กู้โครงการสินเชื่อห่วงใย (เพื่อสู้ภัยโควิด-19) ด้วยหลักเกณฑ์เงื่อนไขผ่อนปรนเป็นพิเศษ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ต้องการเม็ดเงินหมุนเวียนใช้สอยในครอบครัว ช่วยลดภาระหนี้สิน หรือใช้แก้ปัญหาขาดสภาพคล่อง ทั้งนี้ สินเชื่อห่วงใย (เพื่อสู้ภัยโควิด-19) เปิดให้ผู้มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ สัญชาติไทย สามารถยื่นขอกู้รายละไม่เกิน 10,000 บาท อัตราดอกเบี้ยคงที่เพียง 0.35% ต่อเดือน พร้อมเงื่อนไขพิเศษ ไม่ต้องมีผู้ค้ำและไม่ต้องมีหลักประกันการกู้ รวมถึงผ่อนปรนให้ผู้กู้ไม่ต้องชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย 6 งวดแรก กำหนดระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ไม่เกิน 2 ปี

ธนาคารแห่งประเทศไทย ( ธปท.)  ออกมาตรการแก้หนี้ระยะยาว ด้วยการรีไฟแนนซ์และการรวมหนี้ ได้กำหนดให้มีแรงจูงใจในการสนับสนุนให้สถาบันการเงินทำการรวมหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น (Debt consolidation) เข้าด้วยกัน เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระหนี้ดี หรือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ด้วยการนำหลักประกันของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ในการช่วยลดภาระดอกเบี้ยและค่างวด
นอกจากนี้ ธปท. ได้ดำเนินการลดข้อจำกัดการทำรีไฟแนนซ์ (Refinance) หนี้ เพื่อส่งเสริมการแข่งขันของสถาบันการเงินในการรวมหนี้ให้กับลูกหนี้ควบคู่ไปด้วย

สาระสำคัญของมาตรการ สรุปดังนี้
1. ห้ามเรียกเก็บค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนครบกำหนด (Prepayment fee) สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับและสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับเป็นการชั่วคราว โดยให้มีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
2. ปรับปรุงแนวทางการรวมหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น (Debt consolidation) โดยขยายขอบเขตให้สามารถรวมหนี้ข้ามสถาบันการเงิน และ/หรือ ผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นได้ จากเดิมที่สามารถรวมหนี้ได้เฉพาะหนี้ในสถาบันการเงินเดียวกัน

ทั้งนี้ ในกรณีที่สถาบันการเงินมีสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยอยู่แล้ว จะกำหนดอัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยนั้นได้ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเดิม
ส่วนในกรณีที่รับโอนสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Refinance) มาจากสถาบันการเงินอื่น สถาบันการเงินสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงของลูกหนี้ได้
สำหรับสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นที่นำมารวมหนี้ด้วย ให้กำหนดอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่เป็นอัตราที่ใช้หลังการส่งเสริมการขาย (Teaser rate) บวกร้อยละ 2 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อรายย่อยโดยทั่วไปอย่างมีนัย โดย ธปท. ได้ผ่อนปรนหลักเกณฑ์การกำกับดูแล ทั้งการจัดชั้นหนี้ การกันเงินสำรอง และการดำรงเงินกองทุน เพื่อลดต้นทุนให้กับสถาบันการเงินที่ช่วยเหลือลูกหนี้ สำหรับการรวมหนี้ที่ดำเนินการภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 เพื่อสนับสนุนให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจดำเนินการดังกล่าว และลูกหนี้สามารถติดต่อสถาบันการเงินโดยตรง เพื่อสมัครเข้าร่วมมาตรการ

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของลูกค้าและป้องกันการก่อหนี้สินนอกระบบที่มีดอกเบี้ยสูงและไม่เป็นธรรมกับเกษตรกร เปิดตัวสินเชื่อเงินด่วน A-Cash Gold เพื่อสนับสนุนลูกค้าให้มีเงินทุนในการเสริมสภาพคล่องในการประกอบอาชีพหรือเป็นค่าใช้จ่ายสำรองเงินฉุกเฉินในครัวเรือน กระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศต่อไป สำหรับเงื่อนไขการกู้เงินสินเชื่อ A-Cash Gold ต้องเป็นลูกค้า ธ.ก.ส. ที่มีประวัติการชำระหนี้ดี โดยจำกัดวงเงินรายละไม่เกิน 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ย MRR ต่อปี (ปัจจุบัน MRR เท่ากับร้อยละ 6.50 ต่อปี) กำหนดการชำระคืนภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ทำสัญญาโดยลูกค้าสามารถใช้หลักประกันที่จดทะเบียนจำนองได้ไม่เกินร้อยละ 95 ลูกค้าที่สนใจสินเชื่อเงินด่วน A-Cash Gold สามารถติดต่อได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขา ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สอบถามเพิ่มเติมที่ Call Center 02-555-0555 โดยได้วางโครงสร้างการออกแบบเว็บไซต์ เน้นความสะดวกและง่ายต่อการสืบค้นหาข้อมูลมาตรการด้านการเงินต่าง ๆ โดยสามารถเลือกค้นหาได้ทั้งตามสถาบันการเงินของรัฐแต่ละแห่ง ประกอบด้วย
1. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
3. ธนาคารออมสิน
4. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
5. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)
6. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.)
7. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
8. บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.)
9. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
นอกจากนี้ยังเลือกตามกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือ ได้แก่
1. เกษตรกรและ SMEs เกษตรกร
2. ประชาชนฐานรากและบุคคลทั่วไป
3. ผู้ประกอบการ SMEs
4. ผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก
5. Non-Bank
 
ข้อมูล : ธนาคารแห่งประเทศไทย
           : ธนาคารออมสิน
           : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar