ไทยรู้ ร่วมฟื้นฟู สู้โควิด มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ



       การระบาดของไวรัส โควิด-19 ในแต่ละครั้งนั้น ได้สร้างคลัสเตอร์ใหม่ที่มีจุดระเบิดจากกลางเมืองกรุงเทพฯขยายครอบคลุมรอบปริมณฑล ก่อนแพร่กระจายไปทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน บรรดาผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจพร้อมใจฟันธงว่า การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในสภาวะนี้ รัฐบาลจำเป็นต้องออกนโยบายเพื่อช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการ เพื่อลดผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว เช่น “มาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19” (สินเชื่อฟื้นฟู-พักทรัพย์หนี้) โดยรัฐบาลเร่งผลักดันในรูปของพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ฉบับเพิ่มเติม เพื่อพยุงกิจการการจ้างงานได้หลายแสนคนจากหลายหมื่นกิจการโดยเฉพาะการมุ่งเป้าหมายไปยังผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) และในปีปี พ.ศ.2566  รัฐบาลเห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme (PGS) ระยะที่ 10  โดยอนุมัติงบฯ วงเงินรวมไม่เกิน 7,125 ล้านบาท  สำหรับดำเนินโครงการ ฯ โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
          - วัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่มีศักยภาพที่ต้องการสินเชื่อ แต่หลักประกันไม่เพียงพอหรือมีปัญหาด้านสภาพคล่อง ให้มีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อจากสถาบันการเงินและสามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้ ผ่านกลไกการค้ำประกันสินเชื่อของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
          - วงเงินค้ำประกันรวม   50,000 ล้านบาท (ไม่เกิน 40 ลบ./ราย รวมทุกสถาบันการเงิน และการยื่นขอค้ำประกันขั้นต่ำครั้งละไม่น้อยกว่า  10,000 บาท)
          - อายุการค้ำประกัน ไม่เกิน 10 ปีระยะเวลารับคำขอค้ำประกันสินเชื่อ 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ คณะรัฐมนตรีอนุมัติ
          - ค่าธรรมเนียมการค้ำประกัน  รวมทั้งโครงการเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 1.75 ต่อปี และสามารถจัดสรรอัตรา ค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อที่รัฐบาลจ่ายแทนผู้ประกอบการ SMEs ในแต่ละโครงการย่อยได้ตามความเหมาะสม
          - การจ่ายค่าประกันชดเชย  บสย. จ่ายค่าประกันชดเชยตลอดโครงการ  ( 10 ปี) โดย  บสย. จะเริ่มจ่ายค่าประกันชดเชยครั้งแรกในปีที่ 2 ของการค้ำประกันและในปีถัดไปจนสิ้นสุดการค้ำประกัน
          - การขอรับการชดเชย    รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 7,125 ล้านบาท
          - ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ - มีผู้ประกอบการ SMEs ได้รับสินเชื่อเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า  76,900 ราย

ก่อให้เกิดสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินไม่ต่ำกว่า 60,000  ล้านบาท โดยมุ่งหวัง โครงการ PGS ระยะที่ 10  ดำเนินการต่อเนื่องจากโครงการ PGS ระยะที่ 9  ซึ่งครั้งนี้ ได้เพิ่มเติมกลุ่มเป้าหมายให้รวมถึงผู้ประกอบการ SMEs ขนาดเล็กด้วย (SSMEs) ซึ่งผลการดำเนินงานโครงการ PGS ระยะที่ 9  สามารถช่วยผู้ประกอบการ SMEs  แล้ว 37,823 ราย และเกิดสินเชื่อจำนวน 187,494 ล้านบาท 
แหล่งข้อมูล  :
https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/phatthalung_th/423102dbfa6628aece5c945ef9337d59.pdf


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar