ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันล้างมือโลก
วันล้างมือโลก วันที่ 15 ตุลาคมของทุกปีสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UN : UNITED NATIONS) ได้ กำหนดให้เป็นวันล้างมือโลก (Global Hand Washing Day) เพื่อเป็นการรณรงค์และกระตุ้นให้เด็ก เยาวชน และประชากร ทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญในเรื่องของการล้างมือด้วยสบู่อย่างถูกวิธีเป็นประจำ ตลอดจนเกิด การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นการป้องกันการติดเชื้อโรคที่สำคัญได้ทางหนึ่ง โดยวันล้างมือโลกถูกจัดขึ้น เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 2008 ณ เมืองสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน พร้อมกับเลือกให้ปี ค.ศ. 2008 เป็นปีสากลแห่งการรักษาอนามัยและปัจจุบันมีประเทศที่เห็นความสำคัญของการล้างมือและเข้าร่วม เป็นภาคีกว่า 83 ประเทศ ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศภาคีด้วยเช่นกันมีจุดมุ่งหมายหลัก คือ การสร้างวัฒนธรรมการล้างมือให้สะอาดถูกสุขอนามัยขึ้นมาทั่วโลก
การล้างมือที่ถูกวิธีด้วยน้ำและสบู่ โดยให้ยึดหลัก 2 ก่อน 5 หลัง และ 7 ขั้นตอน
ซึ่ง 2 ก่อน คือ ล้างมือก่อนทำอาหาร และกินอาหาร
ส่วน 5 หลัง คือ หลังเข้าห้องส้วม หยิบจับสิ่งสกปรก เยี่ยมผู้ป่วย สัมผัสหรือเล่นกับสัตว์ และหลังกลับมาจากนอกบ้าน
และ 7 ขั้นตอน ดังนี้
ถูฝ่ามือ
ถูหลังมือ ซอกนิ้ว
ฝ่ามือถู ฝามือ และนิ้วถูซอกนิ้ว
หลังนิ้วมือ ถูฝ่ามือ
ถูนิ้วหัวแม่มือ โดยรอบด้วยฝ่ามือ
ปลายนิ้วมือ ถูขวางฝ่ามือ
ถูรอบข้อมือ
มาล้างมือกันให้ถูกต้อง เพื่อสุขอนามัยที่ดี ปลอดโรค
แหล่งที่มา : กรมอนามัย , กระทรวงสาธารณสุข