ค่าแรงขั้นต่ำ ขึ้นจริงหรือมั่ว ชัวร์หรือไม่

จากการที่ 'นายเศรษฐา หวีสิน' นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศอย่างชัดเจนว่าจะมีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทย และยืนยันถึง 'การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 400 บาท' พร้อมทั้งมอบหมายให้กระทรวงแรงงาน หาแนวทางร่วมกับหน่วยงานภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม เพื่อรับฟังข้อเสนอจากภาคเอกชนนั้นหลายภาคส่วนตั้งข้อสังเกตว่าจะสามารถดำเนินการตามนโยบายข้างต้นได้หรือไม่ ซึ่งในส่วนนี้ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยืนยันว่า นโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำนั้น เกิดขึ้นอย่างแน่นอน และเกิดขึ้นจริง

โดยคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22ได้เคาะปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำรอบแรก วันละ 2-16 บาท มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2567 แบ่งเป็น 17 กลุ่ม ดังนี้
- อัตรา 370 บาท 1 จังหวัด คือ ภูเก็ต
อัตรา 363 บาท 6 จังหวัด คือ กทม. นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร
อัตรา 361 บาท 2 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง
อัตรา 352 บาท 1 จังหวัด คือ นครราชสีมา
อัตรา 351 บาท 1 จังหวัด คือ สมุทรสงคราม
อัตรา 350 บาท 6 จังหวัด คือ พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ขอนแก่น เชียงใหม่
อัตรา 349 บาท 1 จังหวัด คือ ลพบุรี
อัตรา 348 บาท 3 จังหวัด คือ สุพรรณบุรี นครนายก หนองคาย
อัตรา 347 บาท 2 จังหวัดคือ กระบี่ ตราด
อัตรา 345 บาท 15 จังหวัดคือ กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี สงขลาพังงา จันทบุรี สระแก้ว นครพนม มุกดาหาร สกลนคร บุรีรัมย์ อุบลราชธานี เชียงราย ตาก พิษณุโลก
อัตรา 344 บาท 3 จังหวัด คือ เพชรบุรี ชุมพร สุรินทร์
อัตรา 343 บาท 3 จังหวัด คือ ยโสธร ลำพูน นครสวรรค์
อัตรา 342 บาท 5 จังหวัด คือนครศรีธรรมราช บึงกาฬ กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด เพชรบูรณ์
อัตรา 341 บาท 5 จังหวัด คือ ขัยนาท สิงห์บุรี พัทลุง ชัยภูมิ อ่างทอง
อัตรา 340 บาท 16 จังหวัด คือ ระนอง สตูล เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี มหาสารคาม ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ แม่ฮ่องสอน ลำปาง สุโขทัย อุตรดิตถ์ กำแพงเพชรพิจิตร อุทัยธานี ราชบุรี
อัตรา 338 บาท 4 จังหวัด คือ ตรัง น่าน พะเยา แพร่
อัตรา 330 บาท 3 จังหวัด คือ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา

ต่อมา ได้มีการเคาะปรับค่าจ้างขั้นต่ำครั้งที่ 2 ของปี 2567 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกสำหรับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่ไมได้ทำพร้อมกันทั้งประเทศ แต่เป็นการเลือกเป็นบางจังหวัดและรายพื้นที่ เนื่องจากไม่ต้องการให้กระทบทั้งภาคอุตสาหกรรมและการผลิต และคำนึงถึงความเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อโดยที่ประชุมมีมติเอกฉันฑ์ให้ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำใน 10 จังหวัดนำร่อง และขึ้นในบางพื้นที่นำร่อง ที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูง เจาะจงที่ธุรกิจโรงแรมที่พักระดับ 4 ดาวขึ้นไป ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ได้รับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละ 400 บาทใน 10 จังหวัด โดยมีผลวันที่ 13เม.ย.2567 เป็นต้นไป ตามมติของคณะกรรมการค่าจ้าง คือ

- จังหวัดกรุงเทพมหานคร เฉพาะเขตปทุมวันและเขตวัฒนา
จังหวัดกระบี่ เฉพาะเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวนาง
- จังหวัดชลบุรี เฉพาะเขตเมืองพัทยา
จังหวัดเชียงใหม่ เฉพาะเขตเทศบาลนครเชียงใหม่
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เฉพาะเขตเทศบาลหัวหิน
จังหวัดพังงา เฉพาะเขตเทศบาลตำบลคึกคัก
- จังหวัดภูเก็ต (ทั้งจังหวัด)
จังหวัดระยอง เฉพาะเขตตำบลบ้านเพ
จังหวัดสงขลา เฉพาะเขตเทศบาลนครหาดใหญ่
จังหวัดสุราษฎร์ธานี เฉพาะเขตอำเภอเกาะสมุย ในขณะที่

พื้นที่อื่น ๆ ที่ไม่อยู่ในรายชื่อ 10 พื้นที่นี้ ค่าแรงขั้นต่ำ ยังคงอยู่ที่ 330-370 บาท ตามที่มีการปรับขึ้นแล้ว ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา

          โดยเหตุผลที่มีการปรับขึ้นเฉพาะ 10 พื้นที่นี้ นั้น เนื่องจากคณะกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำ มองว่ อุตสาหกรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ขณะที่ธุรกิจการให้บริการที่พักแรมมีการขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง และ 10 พื้นที่ จังหวัดดังกล่าวเป็นพื้นที่จังหวัดที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูง

          คณะกรรมการค่าจ้างๆ จึงได้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประเภทกิจการโรงแรมครั้งนี้ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โรงแรม ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ โดยพิจารณาบนพื้นฐานของความเสมอภาคและรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายเพื่อให้นายจ้าง และลูกจ้าง สามารถประกอบธุรกิจและดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข

          หลายเสียงถามว่า หากนายจ้างไม่ปรับขึ้นค่าแรง จะเป็นอะไรไหม...คำตอบคือ หากนายจ้างไม่ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทต่อวันจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานปี 2541 โดยลูกจ้างสามารถร้องเรียนได้ที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกระทรวงแรงงาน

แหล่งที่มา : กระทรวงแรงงาน


image รูปภาพ
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar