การจ้างงาน หลังสถานการณ์โควิด-19



     ในช่วงที่ผ่านมาที่ประเทศไทยเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 อัตราการว่างงานเคยพุ่งสูงสุดในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ที่มีอัตราการว่างงาน 2.29% ของแรงงานทั้งหมด มีจำนวนผู้ว่างงานในระบบเกือบล้านคน ซึ่งระดับปกติอัตราการว่างงานของไทยจะอยู่ที่ประมาณ 1% เท่านั้น
     อย่างไรก็ตาม เมื่อสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง และประเทศไทยเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ทำให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้น และตลาดแรงงานไทยฟื้นตัวใกล้เคียงก่อนการระบาดโควิด-19 โดยเฉพาะในสาขาภาคขนส่ง ค้าปลีก โรงแรม และภัตตาคาร ที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 4.5% และ 8.3% ตามลำดับ สาขาการผลิตมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 1.4%  ขณะที่ภาคเกษตรกรรมมีการจ้างงานลดลง 2.4%  ซึ่งเป็นผลกระทบจากอุทกภัยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2565 ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 59 จังหวัด มีแรงงาน 8.3 ล้านคน นอกจากนี้ราคาสินค้าเกษตรปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น 20.1% ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน ทำให้รัฐบาลได้ออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนดังที่เคยกล่าวในบทความที่ผ่านมา อ่านเพิ่มเติม กลุ่มเปราะบางได้รับการช่วยเหลืออย่างไรบ้าง ในภาวะของการระบาดของ COVID - 19 ที่ผ่านมา

     สำหรับค่าจ้างแรงงานปรับเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยค่าจ้างแรงงานภาคเอกชนและภาพรวมเฉลี่ยอยู่ที่ 13,751 และ 15,213 บาทต่อคนต่อเดือน เพิ่มสูงขึ้น 5.3% และ 3.8% ตามลำดับ แต่กระนั้นผลกระทบของเงินเฟ้อทำให้ค่าจ้างที่แท้จริงหดตัวลง การขึ้นค่าแรงสอดคล้องทักษะแรงงานสำหรับประเด็นด้านแรงงานที่ควรให้ความสำคัญ ได้แก่ 
     1. การมีแนวทางบรรเทาภาระค่าครองชีพของแรงงาน โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานนอกระบบ ซึ่งจะได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งต้องสร้างสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจให้เอื้อต่อการมีรายได้ รวมทั้งต้องมีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและควบคุมดูแลราคาสินค้าจำเป็นให้มีความเหมาะสมการขึ้นค่าแรงควรเป็นแบบลำดับค่อยเป็นค่อยไป โดยต้องสอดคล้องกับทักษะ ของแรงงาน ทั้งนี้เรื่องของค่าแรงขั้นต่ำ ถือว่าเป็นผลตอบแทนของแรงงานไร้ทักษะที่จะได้ค่าแรงตามที่กฎหมายกำหนด ขณะที่ปัจจุบันสิ่งที่รัฐทำมาโดยตลอดหลายปีที่ผ่านมาคือการเพิ่มทักษะการทำงานและปรับทักษะการทำงานของแรงงานเพื่อเพิ่มทักษะ และทำให้แรงงานให้มีรายได้ตรงกับทักษะที่เขามี หากมีการขยับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำค่าจ้างแรงงานก็จะปรับเพิ่มขึ้นไปด้วยทั้งระบบทั้งแรงงานที่มีทักษะและไม่มีทักษะ ดังนั้นภาระก็จะตกอยู่กับผู้ประกอบการ หากมีการปรับขึ้นค่าแรงภาคอุตสาหกรรมก็ต้องปรับไปใช้หุ่นยนต์แทนซึ่งก็จะตามมาด้วยการปลดคนงานต่อ  ซึ่งสิ่งที่ควรทำคือการเพิ่มทักษะแรงงานให้สูงขึ้น และเพิ่มค่าใช้จ่ายตรงนั้นมั่นใจว่าภาคอุตสาหกรรมยอมรับได้ขณะเดียวกันการปรับเพิ่มเงินเดือนเด็กจบใหม่(ป.ตรี) ซึ่งมีข้อเสนอจากบางพรรคให้เพิ่มเงินเดือนเริ่มต้นเป็น 25,000 บาท คาดจะส่งผลกระทบต่อทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ อย่างที่ผ่านมาที่มีการปรับเพิ่มขึ้นเงินเดือนเด็กจบใหม่ 15,000 บาท ภาครัฐก็ต้องมีการปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการเช่นกัน
 
     2. การเร่งช่วยเหลือและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยโดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่ยากจน แม้ว่าปัจจุบันสถานการณ์น้ำท่วมจะคลี่คลายมากขึ้น และรัฐมีมาตรการช่วยเหลือแก่ครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบแล้ว แต่กระนั้นกลุ่มเกษตรกรที่มีสถานะยากจน อาจได้รับความเสียหายที่รุนแรงกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่จะมีปัญหาหนี้สินสะสมอยู่สูงจากสถานะการณ์ในช่วงโควิด และขาดเงินออมซึ่งผลกระทบจากน้ำท่วม นอกจากจะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายแล้วยังส่งผลต่อการลงทุนในการทำการเกษตรในรอบฤดูเพาะปลูกถัดไปด้วย อย่างไรก็ดี ปัจจุบันกรมส่งเสริมการเกษตรมีการสนับสนุนชีวภัณฑ์ท่อนพันธุ์ และให้ความช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ประสบภัยพิบัติแล้ว รวมทั้งสถาบันการเงินของรัฐมีโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่เกษตรกร ซึ่งน่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนทางด้านการเงินให้เกษตรกรได้บางส่วนอย่างไรก็ตาม ควรต้องมีการดำเนินการให้ครอบคลุม และทั่วถึง 

     3. การสนับสนุนให้ผู้ว่างงานเข้าสู่ระบบการอบรมและพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพเกี่ยวกับภาคการท่องเที่ยว เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และส่งเสริมให้ผู้ว่างงานมีงานทำเพิ่มขึ้น โควิดระบาดเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตผู้คนอย่างที่แทบไม่เคยทำได้มาก่อน หรืออาจจะไม่เคยคิดที่จะทำเพราะคิดว่าทำไม่ได้ เช่น หน่วยงานราชการ ใครจะไปคิดว่าเอกสารกองโต จนข้าราชการต้องจมอยู่กับกองงานในสำนักงานต่างๆ จะสามารถทำงานจากบ้านได้ ในวันที่โควิดระบาดก็ทำให้ได้เรียนรู้ว่า ไม่ว่าจะหน่วยงานเอกชนหรือราชการก็สามารถปรับตัวได้เช่นกัน 

ข้อมูล : https://brandinside.asia/labor-market-change-post-covid/
          https://workpointtoday.com/economy-0511/
          https://research.eef.or.th/career-readiness-and-covid19/
 

 


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar