แนะเกษตรกรผู้ปลูกข้าวตรวจสอบสิทธิ์การขึ้นทะเบียนโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1

นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 ว่า เป็นการดำเนินโครงการต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ต่อจากการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562/63 ที่ดำเนินการจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างประกันรายได้ให้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกว่า 800,000 รายครบทั้ง 30 งวดไปแล้ว ถือเป็นการสร้างหลักประกันรายได้ให้เกษตรกรตามราคาประกันจากรัฐบาลในการเพาะปลูกผลผลิต สำหรับเกษตรกรที่จะได้รับสิทธิ์ในปีการผลิต 2563/64 มีประมาณกว่า 4 ล้านราย ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร โดยประกันรายได้ให้แก่เกษตรผู้ปลูกข้าวทั้งหมด 5 ชนิด ประกอบด้วย ข้าวเปลือกหอมมะลิราคาประกัน 15,000 บาทต่อตัน ได้สิทธิ์ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน /ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกัน 14,000 บาทต่อตันครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน / ข้าวเปลือกเจ้าราคาประกัน 10,000 บาทต่อตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน / ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกัน 11,000 บาทต่อตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันอยู่ที่ 12,000 บาทต่อตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน 

โดยยึดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินประกันรายได้เช่นเดียวกันรอบที่ 1 โดยในวันนี้ (16 พ.ย.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. จะเริ่มจ่ายเงินประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวรอบที่ 1 จึงขอความร่วมมือให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ตรวจสอบสิทธิ์ของตนเองที่ขึ้นทะเบียนไว้ต้องตรงกับบัญชีที่เปิดไว้กับ ธ.ก.ส. เพื่อได้รับสิทธิ์อย่างเต็มที่และรวดเร็ว 

รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยด้วยว่า นอกจากโครงการประกันรายได้เกษตรผู้ปลูกข้าว เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน แล้วรัฐบาลยังมีมาตรการคู่ขนานภายใต้นโยบายเพิ่มประสิทธิภาพกลไกการตลาดในการยกระดับราคาข้าวในตลาดให้ปรับตัวสูงขึ้น โดยให้เกษตรนำข้าวไปเก็บในยุงฉางเพื่อชะลอการนำข้าวออกสู่ตลาดจนล้นตลาดโดยมีระยะเวลาในการจัดเก็บในยุงฉาง 1-5 เดือน รัฐบาลช่วยค่าจัดเก็บตันละ 1,500 บาทต่อตัน สำหรับเกษตรที่มียุงฉางเป็นของตนเอง หรือหากนำไปฝากเก็บไว้ที่สหกรณ์ เกษตรกรจะได้ส่วนต่าง 500 บาทต่อตัน สหกรณ์จะได้รับส่วนต่าง 1,000 บาทต่อตัน เกษตรกรได้ส่วนต่าง 500 บาทต่อตัน และอีกหนึ่งกลไกหลักสำคัญเพื่อเป็นการการกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันการรับซื้อผลผลิตในพื้นที่ รัฐบาลจะให้การสนับสนุนสหกรณ์ในพื้นที่เป็นผู้รวบรวมรับซื้อข้าวจากเกษตรกรจะได้รับเงินชดเชยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 รวมถึงโรงสีข้าวจะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลร้อยละ 3 ด้วยเช่นกัน 

--------------------

ที่มา : 

 


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar