Before & After กว่าจะเป็นคลองโอ่งอ่างโฉมใหม่

คลองสวยน้ำใส ต้นแบบการพัฒนาคลอง ของ กทม. จากอดีต เข้าสู่ยุคสะพานเหล็ก แล้วปรับมาเป็นคลองโอ่งอ่างโฉมใหม่ และ ก้าวสู่แผนการพัฒนาคลองทั่วกรุงเทพ

คลองโอ่งอ่าง สมัยโบราณ ถูกสร้างให้เป็นคลองคูเมือง กรุงเทพ รอบที่ 2 ซึ่งเป็นการขุดคลองเชื่อมระหว่างคลองบางลำภู บริเวณสะพานผ่านฟ้า ไปแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามสะพานพระปกเกล้า ในสมัยสร้างใหม่ๆ เป็นแหล่งค้าค้าขายเครื่องปั้นดินเผาของทั้งชาวจีนและชาวมอญมาก่อน เลยเป็นที่มาของชื่อคลองโอ่งอ่าง

คลองโอ่งอ่างนี้ในสมัยโบราณมีสะพานที่เป็นเอกลักษณ์ คือสะพานหัน ซึ่งเป็นสะพานที่มีหลังคา (สร้างสมัยรัชกาลที่ 5) เพื่อเป็นห้องขายสินค้า เป็นประตูเชื่อมต่อไปถนนสำเพ็ง ที่เป็นแหล่งค้าขายสำคัญของกรุงเทพมาตั้งแต่ยุคนั้น ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจาก Ponte di Rialto ของ เวนิส ประเทศอิตาลี

สะพานหันแบบมีหลังคาถูกรื้อและก่อสร้างใหม่ทดแทนด้วยสะพานคอนกรีตแบบในปัจจุบัน ในปี 2505

ในปี 2526 ทาง กทม. ได้เปิดสัมปทานเปิดพื้นที่ให้เช่า บนคลองโอ่งอ่าง เพื่อย้ายผู้ค้าจากคลองถมเดิมมาที่สะพานเหล็กนี้แทน จนกลายเป็นย่านสะพานเหล็กทับคลอง เป็นแหล่งขายเกม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แบบที่เราเห็นก่อนรื้อ

—————————

?? การเริ่มต้นของการรื้อสะพานเหล็ก คลองโอ่งอ่าง

- ปี 2543 คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า มีมติให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) รื้อถอนอาคาร และแผงค้าที่รุกล้ำบริเวณคลองโอ่งอ่าง ซึ่งมีจำนวนประมาณ 500 แผง ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตพระนคร 375 แผง และเขตสัมพันธวงศ์ 125 แผง เนื่องจากก่อให้เกิดความสกปรกและเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค กีดขวางการสัญจรทางน้ำและเป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำ แต่ทาง กทม. ก็ไม่ได้มีการทำตามมติของคณะกรรมการเกาะรัตนโกสินทร์

- ปี 2558 รัฐบาล และ กทม. มีมติให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำคลองโอ่งอ่าง ซึ่งพอรื้อคลองแล้ว ก็เห็นถึงน้ำในคลองที่ดำมากๆ ไม่มีโอกาสได้เห็นแดดมาหลายสิบปี และมีสิ่งก่อสร้างกีดขวางทางน้ำมากหมาย

แต่ในช่วงแรกหลักจากการรื้อถอนย่านสะพานเหล็กออกไป ก็ทำทางเดินชั่วคราว ซึ่งมีหลายๆคนบอกว่า เป็นการทำลายวิถีชีวิต และการทำมาหากินของชาวบ้าน ได้ที่เปล่าๆ ไม่สร้างมูลค่าอะไรเลยขึ้นมา

การปรับปรุงภูมิทัศน์ของคลองโอ่งอ่าง จนกลายมาเป็นถนนคนเดิน Landmark แห่งใหม่ของ กทม.

กทม. มีแผนต่อเนื่องในการพัฒนาพื้นที่ริมคลองโอ่งอ่าง 2 ข้างทาง ให้เป็น Land Mark แห่งใหม่ของ กทม. ในช่วงแรก ตั้งแต่สะพานดำรงสถิต ถึง สะพานโอสถานนท์ ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ได้แก่

- สร้างกำแพงเขื่อนกันดิน

- ปรับพื้นที่ถนนของสะพานเหล็กเดิม ให้เป็นถนนปูอิฐ

- ย้ายท่อร้อยสายไฟแรงสูงเดิมที่พาดผ่านตัวคลอง ไปเป็นฝังใต้ดิน

- วางท่อรับน้ำเสียจากบ้านเรือนริมคลองเพื่อไม่ให้ทิ้งน้ำเสียลงคลอง

- วางท่อจ่ายน้ำประปาเข้าบ้านเรือน

- ปรับปรุงภูมิทัศน์ตลอด 2 ข้างทางริมคลอง

- ปรับปรุงสะพานข้ามคลอง 5 แห่ง ได้แก่ สะพานดำรงสถิต, สะพานภาณุพันธุ์, สะพานหัน, สะพานบพิตรพิมุข และสะพานโอสถานนท์

ซึ่งจากการพัฒนาทั้งหมดที่เราเห็น รัฐบาลลงทุนไป 325 ล้านบาท

หลังจากนี้จะมีถนนคนเดินทุกสุดสัปดาห์ (ศุกร์-อาทิตย์) อยากให้ตรงจุดนี้เป็นจุดเปลี่ยน และจุดศูนย์กลางของความเจริญในย่านนี้ในอนาคต ให้กลายเป็น อีกหนึ่ง Destination ในอนาคต

 


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar