ครูกัลยา เริ่ม "โครงการวิทย์พลังสิบ" สร้างโอกาสเด็กไทยเข้าถึงการเรียนวิทยาศาสตร์แนวใหม่ ลดเนื้อหา เพิ่มการปฏิบัติ สร้างความเท่าเทียมองค์ความรู้พื้นฐาน เพื่อการเรียนต่อ-ดำเนินชีวิต-

ครูกัลยา เริ่ม "โครงการวิทย์พลังสิบ" สร้างโอกาสเด็กไทยเข้าถึงการเรียนวิทยาศาสตร์แนวใหม่ ลดเนื้อหา เพิ่มการปฏิบัติ สร้างความเท่าเทียมองค์ความรู้พื้นฐาน เพื่อการเรียนต่อ-ดำเนินชีวิต-

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม. ได้มีมติเห็นชอบโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ ซึ่งเป็นการดำเนินโครงการระยะ 10 ปี

เมื่อวันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.00 น. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีรายละเอียดสรุป ดังนี้

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม. ได้มีมติเห็นชอบโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ ซึ่งเป็นการดำเนินโครงการระยะ 10 ปี ใช้งบประมาณทั้งหมด 9,000 ล้านบาท โดยจะเริ่มดำเนินโครงการทันทีในปีงบประมาณ 2564 โดยจะใช้งบประมาณ จำนวน 200 ล้านบาท สำหรับการพัฒนาครูในการเตรียมความพร้อม เพื่อสร้างโอกาสให้เด็กไทยได้เข้าถึงวิทยศาสตร์และคณิตศาสตร์อย่างทั่วถึง รวมทั้งเป็นการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์รูปแบบใหม่ลดเนื้อหาด้านวิชาการ และเน้นการเรียนแบบปฏิบัติมากขึ้น เพื่อให้เด็กนำไปใช้ชีวิตประจำวันได้จริง

เนื่องจากในอนาคตการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมีบทบาทมากขึ้น อีกทั้งยังมีบทบาทต่อวงการอุตสาหกรรม และการเกษตรอย่างก้าวกระโดด จึงริเริ่มโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบนี้ขึ้น โดยโครงการนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนให้คนไทยทั้งประเทศ ได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ได้ตั้งแต่เด็กเล็ก โดยการเพิ่มพลังวิทยาศาสตร์ จาก 10 คน เป็น 100 คน และจาก 100 คน เป็น 1,000 คน

นอกจากนี้ โครงการนี้ถือเป็นการเพิ่มพลังความรู้ด้านวิทยาศาสตร์แบบต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายให้คนไทยได้มีพื้นฐานความคิดอย่างเป็นระบบ คิดแบบวิธีวิทยาศาสตร์ ดังนั้น จะมีการต่อยอดเพิ่มการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้น ป.4 – ม.6 โดยมีภาคีเครือข่ายจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มาช่วยเติมเต็มการอบรมให้แก่ครูทั่วประเทศให้สอนในเรื่องนี้ได้ เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถการเรียนรู้ของเด็กด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในอนาคต

“เบื้องต้นยังไม่สามารถดำเนินการได้ทั่วประเทศ เนื่องจากต้องมีการพัฒนาครู ซึ่งจะเริ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้มีครูที่เชี่ยวชาญเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในรูปแบบใหม่ ที่วิชาเรียนจะน้อยลง เน้นการปฏิบัติมากขึ้น และเพิ่มเรียนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ที่มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน สามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตทั้งการทำงาน และการใช้ชีวิต ที่ประชุม ครม. ขอให้พิจารณาดำเนินการทุกอย่างให้รอบคอบมากที่สุด” รมช.ศึกษาธิการ กล่าว

ที่มา  https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/39338


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar