ความมั่นคงด้านดำเนินงาน ในโลกใบเดิม กับยุคโควิด-19 ด้านอาหาร

ความมั่นคงด้านดำเนินงาน ในโลกใบเดิม กับยุคโควิด-19 ด้านอาหาร



แม้ในช่วงโควิด-19 หลายภาคธุรกิจได้รับผลกระทบ แต่  "อาหารไทย" เป็น 1 ใน 15 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ของการพัฒนา "เศรษฐกิจสร้างสรรค์" โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์บนฐานขององค์ความรู้ ทรัพย์สินทางปัญญา และการศึกษาวิจัยซึ่งเชื่อมโยงกับวัฒนธรรม ขณะเดียวกัน อาหารไทย ก็เป็นหนึ่งใน ซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) ที่มีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สำคัญ ดังนั้น การจะพัฒนา อุตสาหกรรมกรรมอาหาร ของไทยให้ก้าวหน้า จำเป็นต้องอาศัยการพัฒนาเทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม เพื่อยกระดับผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ตลาด ในโลกที่มีการแข่งขันสูง

อาหารไทยเป็นอีก Soft Power ที่สื่อถึงเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชาติ และยังสร้างมูลค่าทางการตลาดอีกด้วย ซึ่งในงานประชุม APEC 2022 ที่ผ่านมา ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ มีอาหารไทยมากมายที่ได้ขึ้นโต๊ะร่วมต้อนรับผู้นำจากนานาประเทศ อย่างเช่น กุ้งมังกร 7 สีจาก ต.ฉลอง อ.เมืองภูเก็ต ปลากุเลาจากตากใบ สินค้าท้องถิ่นขึ้นชื่อของจังหวัดนราธิวาส เนื้อน่องโคขุนจากสหกรณ์โพนยางคำสกลนคร และข้าวซอย อาหารภาคเหนือ

ดังนั้น “อาหารไทยเป็น Soft power  ที่มีความสำคัญที่สุดในบรรดาหลายๆ Soft power ของไทย ประเทศไทยมีวัตถุดิบจำนวนมากที่เป็นสมุนไพร และเป็นวัตถุดิบไม่ทำให้อ้วน มีหลากหลายรสชาติที่ฝรั่งชอบ ไม่น่าเบื่อ อร่อย และมีประโยชน์ และอาหารไทยในตอนนี้ก็มีชื่อเสียงดังมากในโลก จัดอันดับให้ ‘ข้าวซอย’ อันดับ 1 ในการจัดอันดับ 50 Best Soups ซุปที่ดีที่สุด ของเว็บไซต์ TasteAtlas เว็บไซต์รวบรวมสูตรอาหารและรีวิวจากนักวิจารณ์อาหารทั่วโลก แบบอินเทอร์แอคทีฟ นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่อาหารไทยได้รับการเผยแพร่ไปสู่นานาชาติและเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ที่จะนำความเป็นไทยไปสู่การเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจ 
 


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar