กระทรวงแรงงาน เดินหน้าช่วยเหลือแรงงานทั่วประเทศ ยกระดับเเรงงานและหลักประกันสุขภาพ โดยเฉพาะช่วงโควิด19 สามารถเยียวยาช่วยเหลือแรงงานครบมิติ

กระทรวงแรงงาน เดินหน้าช่วยเหลือแรงงานทั่วประเทศ ยกระดับเเรงงานและหลักประกันสุขภาพ โดยเฉพาะช่วงโควิด19 สามารถเยียวยาช่วยเหลือแรงงานครบมิติ

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวนโยบายและผลดำเนินงานของกระทรวงแรงงงานต่อผู้ใช้แรงงาน เนื่องในโอกาส วันแรงงานแห่งชาติ 2565 ว่า แม้ว่าประเทศไทย และประเทศทั่วโลกยังคงประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 กระทรวงแรงงาน ยังมุ่งมั่นส่งเสริมให้แรงงานมีงานทํา รวมถึงการสร้างหลักประกันทางสังคมแก่แรงงานนอกระบบ กลุ่มเปราะบาง ยกระดับการประกันสังคม ซึ่งที่ผ่านมาแรงงาน ได้ยื่นข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติ ตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน มีการยื่นข้อเรียกร้อง รวมทั้งหมด 17 เรื่อง ซึ่งกระทรวงแรงงานได้ดําเนินการแล้วเสร็จในขั้นของกระทรวงแล้ว 10 เรื่อง

โดยกระทรวงแรงงานดําเนินการแล้วเสร็จในขั้นของกระทรวง ตามข้อเรียกร้องที่สําคัญ อาทิ การแก้ไข พ.ร.บ. ประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อแก้ไขให้สอดคล้องกับข้อเรียกร้อง ของพี่น้องแรงงาน ในประเด็น 3 ข ได้แก่ ขอเลือก กําหนดให้สามารถเลือกรับบําเหน็จ หรือบํานาญ ,ขอคืน กําหนดให้สามารถนําเงินชราภาพบางส่วนมาใช้ก่อนได้ และ ขอกู้ นําเงิน ชราภาพมาเป็นหลักค้ำประกันกับสถาบันการเงินได้จึงได้มีการขยายอายุ ขั้นสูงของผู้ประกันตน มาตรา 40 รองรับกับสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย จากเดิมกําหนด อายุขั้นสูงไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ เป็นไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ รวมทั้งการเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านต่างๆ สําหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือมาตรา 39 สิ่งสําคัญอีกประการคือการดูแลแรงงานนอกระบบ โดยกระทรวงแรงงานเร่งรัด พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ พ.ศ. ..... เพื่อยกระดับ คุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่แรงงานนอกระบบให้สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการประกอบอาชีพ ได้รับการคุ้มครอง

นอกเหนือจากข้อเรียกร้องวันแรงงานในปีนี้มี 8 ข้อ แล้วกระทรวงแรงงาน ยังมีมาตรการที่ให้ความช่วยเหลือพี่น้องผู้ใช้แรงงานในวิกฤตการระบาดโรคโควิด 19 เพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตไปได้ผ่านโครงการที่สำคัญ อาทิ เยียวยาจากการขาดรายได้ เพิ่มมาตรการลดภาระค่าครองชีพ และเพิ่มรายรับให้พี่น้องผู้ใช้แรงงาน ได้แก่โครงการ ม.33เรารักกัน คนละ 6,000 บาท ผู้ประกันตนได้รับสิทธิกว่า 8 ล้านราย โครงการเยียวยานายจ้าง และผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 และ 40 ในพื้นที่ 29 จังหวัด เยียวยานายจ้าง 192,911 ราย ผู้ประกันตน ม.33, ม.39 และ ม.40 รวมกว่า 12 ล้านราย และโครงการเยียวยาผู้ประกันตนในกิจการสถานบันเทิงและผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ทํางาน เกี่ยวข้องกับสถาบันเทิงที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 และ 40 ในพื้นที่ทั่วประเทศ รายละ 5,000 บาท จํานวน 147,714 ราย

รวมทั้งมีการเปิดจุดตรวจโควิด 19 ทั้งแบบประจําจุดและแบบเชิงรุกในโรงงานในพื้นที่ 23 จังหวัด การจัดหาเตียงในลักษณะ Hospitel ไว้กว่า 48,000 เตียง เพื่อรองรับพี่น้องผู้ใช้แรงงานที่ป่วยจากโรคโควิด 19 การผลักดันโควตาวัคซีนป้องกันโควิด 19 สําหรับพี่น้องผู้ใช้แรงงาน ไปแล้วกว่า 4 ล้านโดส


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar