ผู้ตรวจทาวันฯ ลงพื้นที่สตูล ตรวจราชการรอบ 1 เน้นย้ำการขับเคลื่อนนโยบาย MIND “ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน”

ผู้ตรวจทาวันฯ ลงพื้นที่สตูล ตรวจราชการรอบ 1 เน้นย้ำการขับเคลื่อนนโยบาย MIND “ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน”

เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566  เวลา 14.00 น.  นายทาวัน ทวีถาวรสวัสดิ์  ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม  ตรวจติดตามการปฏิบัติงานตามแผนการตรวจราชการกรณีปกติ รอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสตูล โดยมี นายอำนาจ  ศรีอินทร์เกื้อ อุตสาหกรรมจังหวัดสตูล พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสตูล เข้าร่วมประชุมรับการตรวจราชการพร้อมรับมอบนโยบายในการปฏิบัติงาน   
โดยผู้ตรวจทาวันฯ ได้เน้นย้ำการขับเคลื่อนนโยบาย MIND ใช้ หัว และ ใจ เป็นแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อมุ่งยกระดับ “ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน” 4 มิติ ในด้านการส่งเสริมธุรกิจ ดูแลชุมชน รักษาสิ่งแวดล้อม และกระจายรายได้เพื่อคุณภาพชีวิตที่สมดุล พร้อมให้ข้อเสนอแนะการปฏิบัติงานจากการตรวจราชการในครั้งนี้ ดังนี้
1. การตรวจกำกับดูแลโรงงานอุตสาหกรรม เน้นย้ำให้ตรวจกำกับดูแล โรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงจะเกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการประกอบกิจการ กำกับให้โรงงานปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบโรงงานพร้อมให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ประกอบการหากมีปัญหาอุปสรรคในการประกอบธุรกิจในพื้นที่
2. การพิจารณาอนุมัติ  อนุญาต ให้เป็นไปตามกระบวนการและตามที่กฎหมายกำหนด แนวทางการปฏิบัติงาน ทั้งพระราชบัญญัติโรงงาน และพระราชบัญญัติแร่ ฯลฯ โดยเน้นย้ำให้อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้รับบริการ
3. การปรับปรุงแก้ไขปัญหาผังเมืองรวมจังหวัด เนื่องจากได้มีการปรับแก้ไขประเภทโรงงานอุตสาหกรรม ตามบัญชีแนบท้ายกฎกระทรวงฯ ตาม พ.ร.บ โรงงาน ปี 2535 ฉบับปรับปรุงแก้ไข พ.ศ. 2562  ควรปรับปรุงแก้ไขบัญชีแนบท้าย กฎกระทรวงผังเมืองรวมจังหวัดให้เป็นปัจจุบันต่อไป
4.การบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยเน้นย้ำ หากผู้ประกอบการมีปัญหาอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจให้ สำนักงานอุตสาหกรรมให้คำปรึกษาและช่วยเหลือผู้ประกอบการอย่างเต็มที่
5. เนื่องจากจังหวัดสตูล เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันอย่างดี เช่น เกาะตะรุเตา เกาะหลีเป๊ะ และเกาะอาดัง เป็นต้น ตลอดจนมีผู้ประกอบการที่มีการดำเนินธุรกิจในด้านการแปรรูผลผลิตทางเกษตรอยู่เป็นจำนวนมาก ควรส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการในการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) และมาตรฐานอุตสาหกรรม เอส (มอก.เอส) โดยเฉพาะในด้านอุตสาหกรรมภาคการบริการและการท่องเที่ยว
6. ประเด็นปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญของผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดสตูล เกี่ยวกับการยื่นขอสินเชื่อกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ โดยเฉพาะการขอตรวจเครดิตบูโร ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาการตรวจถึง 3 วัน ในขณะที่ผู้ประกอบการในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะใช้ระยะเวลาไม่เกิน 1 วัน ทำให้ผู้ประกอบการในจังหวัดสตูลขาดโอกาสที่จะได้รับสินเชื่อเนื่องจากวงเงินสินเชื่อครบเต็มจำนวนเสียก่อน

พร้อมได้ให้กำลังใจในการปฏิบัติงานกับเจ้าหน้าที่สำนักงานฯ ร่วมทำงานกันเป็นทีม พร้อมทั้งบูรณาการการทำงานทั้งภายในและภายนอกสำนักงานฯ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลในการปฏิบัติงานแก่ผู้ประกอบการ ประชาชน ต่อไป

ข้อมูล 

 


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar