ปลัดฯ ณัฐพล นำคณะลงพื้นที่ศูนย์ DIPROM CENTER 1 จ.เชียงใหม่

ปลัดฯ ณัฐพล นำคณะลงพื้นที่ศูนย์ DIPROM CENTER 1 จ.เชียงใหม่

ปลัดฯ ณัฐพล นำคณะลงพื้นที่ศูนย์ DIPROM CENTER 1 จ.เชียงใหม่ ย้ำดึงศักยภาพอุตสาหกรรมพื้นที่ต่อยอดสู่ตลาดพาณิชย์ พร้อมกำชับทุกหน่วยนำ i-Single Form สร้างฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนายิ่งขึ้น

 

จังหวัดเชียงใหม่ : เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2566 เวลา 09.00 น. ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายสุภชัย ไวยาวัจมัย อุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง  นางจันทนา ไวยาวัจมัย อุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน ลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 หรือ DIPROM CENTER 1 จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายสุรพล ปลื้มใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางพัชรี ใบยา อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ให้การต้อนรับ

 

DIPROM CENTER 1 เป็นหน่วยงานภูมิภาคภายใต้กำกับของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม มีพื้นที่รับผิดชอบในเขตภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน โดยมีแนวทางการดำเนินงานมุ่งสู่การปฏิรูปหน่วยงานและการปรับแนวทางการปฏิบัติงาน ตามนโยบาย MIND ทั้งในด้านการส่งเสริมธุรกิจ การดูแลสังคม สิ่งแวดล้อม และการกระจายรายได้สู่ชุมชน อาทิ การต่อยอดพัฒนาชุมชนดีพร้อม การจัดกิจกรรม DIPROM HERO ด้วยการดึงเอกชนรายใหญ่เข้ามาช่วยเหลือชุมชนให้ดีพร้อม และการยกระดับผู้เข้าร่วมโครงการ "อาชีพดีพร้อม" สู่การเป็นผู้ประกอบการ ผ่านการฝึกอบรมสร้างจิตวิญญาณในการเป็นผู้ประกอบการ และการปฏิรูป DIPROM CENTER 1 ซึ่งเป็นศูนย์การพัฒนา SMEs และวิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพครบวงจร โดยภายในศูนย์ฯ ได้จัดแสดงผลงานนิทรรศการ เช่น ศูนย์อนุรักษ์หัตถกรรมเครื่องเขินภาคเหนือ ศูนย์จัดแสดงสินค้าเครื่องมือแพทย์ ศูนย์เรียนรู้วิถีไผ่ ศูนย์พัฒนากาแฟไทย ศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรมดีพร้อม ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม ศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย รวมถึงการบริการแนะนำข้อมูลเบื้องต้นให้แก่ผู้ประกอบการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ จัดแสดงสินค้าต้นแบบ ทดลอง ทดสอบการผลิตออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และบริหารทางการเงิน

 

หลังจากนั้นอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ได้รายงานการบูรณาการร่วมกันระหว่างจังหวัดกับกระทรวงอุตสาหกรรม โดยการจัดทำแผนการดำเนินงานในปี 2566 ที่มุ่งเน้นพัฒนาผู้ประกอบการให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น อาทิ การพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ หรือ Startup การพัฒนาอาหารให้มีมูลค่าสูง การส่งเสริมศูนย์กลางกาแฟ เป็นต้น รวมถึงคำของบประมาณปี 2567 และการปฏิบัติงานบนฐานของข้อมูลด้วย MIND ในการจัดทำข้อมูลในระบบ i-Industry i-Single Form ให้บรรลุตามเป้าหมาย

 

ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบนโยบายให้หน่วยงานต่างนำระบบ  i-Industry i-Single Form มาใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการกับหน่วยงาน เพื่อสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ได้ต่อไป รวมทั้ง การนำตัวอย่างอุตสาหกรรมจังหวัดที่สามารถของบประมาณจากจังหวัดได้มาเป็นแนวทางสำหรับการของบประมาณในปีถัดไป และการนำโครงการที่ประสบความสำเร็จไปขยายผลในวงกว้างให้ครอบคลุมการพัฒนาพื้นที่ทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังได้มอบหมายให้ธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ใช้พื้นที่ของศูนย์ DIPROM MICE CENTER จังหวัดลำปาง ให้เกิดประโยชน์ เช่น การจัดอบรมสัมมนา การนำลูกค้ามาออกบูธจัดงานแสดงและจำหน่ายสินค้า เป็นต้น 

 

ส่วนทางด้าน รสอ.รก.รปอ. ได้มีข้อแนะนำให้ดึงอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในพื้นที่มาต่อยอด เช่น เกษตรอุตสาหกรรม นำมาเชื่อมโยง Digital Content เพื่อนำเข้าสู่ตลาดดิจิทัล หรือการจัดกิจกรรมในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อผลักดันธุรกิจไปยังผู้บริโภคได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมาย

 

หลังจากนั้น ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมคณะ ได้ตรวจเยี่ยมสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรับฟังการดำเนินงานและให้กำลังใจบุคลากรทุกระดับ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป

ข้อมูล 

 


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar