ส.ปชส.ตราด ประชาสัมพันธ์แนะประชาชนพร้อมรับมือ PM 2.5

(27 ม.ค. 66) สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดตราด รายงานว่าข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ ระบุว่า ฝุ่นมักเกิดขึ้นในช่วงปลายปีและต้นปี ซึ่งมาจากแหล่งกำเนิดที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ โดยฝุ่นละออง PM 2.5 เกิดขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศในช่วงปลายปี และต้นปีที่มีความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย ทำให้ฝุ่นละออง PM 2.5 เกิดการสะสม ซึ่งถือว่าสภาพอากาศเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พบฝุ่นละออง PM 2.5 เกินมาตรฐาน

PM 2.5 คือ ฝุ่นละอองที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน มีขนาดประมาณเล็กกว่า เส้นผ่านศูนย์กลาง ของเส้นผมมนุษย์ถึง 20 เท่า ซึ่งมีผลต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็ก คนชรา ผู้ป่วยที่มีโรคประจาตัว และสตรี มีครรภ์ สำหรับประเทศไทย พื้นที่ที่มีปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 หากการกระจายของฝุ่นละอองปกคลุมหนาเป็นบริเวณกว้าง จะส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ อันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก วัยเรียน และกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว เสี่ยงต่อการได้รับมลพิษทางอากาศระดับสูง แต่สามารถป้องกันได้ โดยมีข้อปฏิบัติ 7 วิธี ดังนี้

1. เลี่ยงทำกิจกรรมหรืองดออกกำลังกายกลางแจ้ง ในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงเกินมาตรฐาน

2. สวมหน้ากากอนามัยทั้งแบบผ้าหรือแบบบุคลากรทางการแพทย์ เมื่อจำเป็นต้องออกจากบ้าน หรือสวมหน้ากาก N95 เมื่อต้องอยู่ในพื้นที่เสี่ยงเป็นเวลานาน ๆ

3. ทำความสะอาดบ้านและโรงเรียนให้สะอาด ห้องปลอดฝุ่น

4. ลดกิจกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่น เช่น การจุดธูป, ปิ้งย่าง, เผาขยะ, เผาเศษใบไม้ เป็นต้น

5. หากพบเด็กหรือบุคคลในครอบครัวมีอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย หายใจลำบาก หายใจถี่ หายใจไม่ออก หายใจมีเสียงวี้ด แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก ใจสั่น คลื่นไส้ เมื่อยล้าผิดปกติ หรือวิงเวียนศีรษะ ให้รีบพาไปพบแพทย์

6. ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรเลี่ยงการออกนอกบ้าน เพื่อลดความเสี่ยงในการได้รับมลพิษจากฝุ่น PM 2.5

7. ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หากมีอาการผิดปกติทางเดินหายใจควรพบแพทย์ทันที

ข้อมูล 

 


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar