ผู้ตรวจการฯ ผนึกกำลัง กรมประชาสัมพันธ์ ม.สวนสุนันทา ปลุกคนรุ่นใหม่ รณรงค์ “ทางม้าลายปลอดภัย” ปลูกฝังจิตสำนึก หยุด ชะลอ จอด ก่อน ทางม้าลาย

ผู้ตรวจการฯ ผนึกกำลัง กรมประชาสัมพันธ์ ม.สวนสุนันทา ปลุกคนรุ่นใหม่ 
รณรงค์ “ทางม้าลายปลอดภัย” ปลูกฝังจิตสำนึก หยุด ชะลอ จอด ก่อน ทางม้าลาย
.................... 
           21 ต.ค.2565 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา //  สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ร่วมกับ กรมประชาสัมพันธ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และเครือข่ายทางม้าลายปลอดภัย วินัยดี  จัดกิจกรรมทางม้าลายปลอดภัย วินัยดี “หยุด ก่อนทางม้าลาย”โดยมีนายทรงศัก สายเชื้อ ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ผู้แทนกรมประชาสัมพันธ์ ผศ.ดร.เจตน์สฤษฎิ์  รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คณาจารย์ นักศึกษา และสมาคมผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าอีวีรับจ้างสาธารณะ เข้าร่วมและเน้นย้ำการสนับสนุนขับเคลื่อนให้เกิดทางม้าลายปลอดภัยในครั้งนี้ 
         นายทรงศัก สายเชื้อ ผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า หลังจากที่ได้จัด Kick Off กิจกรรมรณรงค์ “ทางม้าลายปลอดภัย วินัยดี” ทั่วประเทศเมื่อวันที่ 21 กันยายนที่ผ่านมา ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) กรุงเทพมหานคร พบว่าหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และเครือข่ายภาคีต่าง ๆ หลายภาคส่วนตื่นตัวเร่งรณรงค์การใช้รถใช้ถนนตรงทางม้าลาย เช่น เครือข่ายรถจักรยานยนต์ให้ความร่วมมืออย่างดีในการเป็นเครือข่ายหลักในการย้ำรณรงค์ หยุดรถให้คนข้ามทางม้าลาย เครือข่ายตำบลสุขภาวะ สสส. เร่งรณรงค์ให้เกิดความปลอดภัยบริเวณทางข้ามทางม้าลาย ณ บริเวณ หน้าที่ทำการเทศบาล/อบต. หรือในเขตชุมขน โดยได้ทำป้ายแบนเนอร์ติดเพื่อประชาสัมพันธ์เตือนผู้ใช้รถใช้ถนนตามจุดเฝ้าระวังต่างๆ รวมถึงกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้จัดกิจกรรมรณรงค์อย่างต่อเนื่องทุกวันที่ 21 ของทุกเดือนทั่วประเทศ สำหรับภาคเอกชน ได้รับความร่วมมือจาก CP All โดย 7-eleven นำสื่อรณรงค์เผยแพร่ในสื่อต่างๆ ของร้านสะดวกซื้อทั่วประเทศ เป็นเวลา 2 เดือน ส่วนสถิติการเกิดอุบัติเหตุตรงทางม้าลายมีแนวโน้มลดน้อยลง 
        นายทรงศัก กล่าวต่อว่า ในวันนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรมประชาสัมพันธ์ จึงจัดกิจกรรมต่อเนื่อง โดยร่วมกับสถาบันการศึกษา นำร่องที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ซึ่งเป็นการรณรงค์เชิงรุกในรั้วมหาวิทยาลัยครั้งแรก หวังมุ่งเป้ากลุ่มนิสิต นักศึกษา ในการเป็นอีกพลังเยาวชนคนรุ่นใหม่ ที่สำคัญในการร่วมขับเคลื่อนรณรงค์การหยุดรถให้คนข้ามทางม้าลาย สร้างวินัยจราจรใหม่ให้เกิดขึ้นจนกลายเป็นแนวปฏิบัติสากลของสังคมไทย เชื่อว่าหากทุกคนร่วมมือร่วมใจกันขับเคลื่อนเรื่องวินัยจราจรและปฏิบัติตามแล้วคงใช้เวลาไม่นานอย่างแน่นอนที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น และนอกจากกิจกรรมจุดนี้ ภาคีเครือข่ายอื่น ๆ นำโดยนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ประธานคณะกรรมการบูรณาการกู้ชีพฉุกเฉินและความปลอดภัยทางถนนวุฒิสภา ร่วมกับ สสส ได้จัดกิจกรรมรณรงค์ที่กระทรวงสาธารณสุขในวันเดียวกันอีกด้วย 
         นายทรงศัก กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาในมิติของกฎหมายว่า ขณะนี้ผู้ตรวจการแผ่นดินได้เตรียมส่งข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาเชิงระบบ ใน 2 ด้านหลัก คือ 1. ด้านบังคับใช้กฎหมาย และ 2. การแก้ไขกฎหมาย โดย ด้านการบังคับใช้กฎหมาย เสนอแนะให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมการขนส่งทางบก ร่วมกันออกหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 141/1 เพื่อให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว พร้อมประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปทราบถึงระบบตัดคะแนนความประพฤติในการขับรถ ก่อนที่จะเริ่มใช้บังคับในวันที่ 9 มกราคม 2566 อีกทั้งกำชับให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจับกุมผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจร พ.ศ. 2522 และด ำเนินคดีกับผู้กระท ำความผิดโดยเคร่งครัด และจัดทำโครงการอาสาสมัครจราจร เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบผู้กระทำผิดกฎหมายจราจร 
     สำหรับด้านการแก้ไขกฎหมาย  เสนอแนะให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการแก้ไขกฎหมายในประเด็น ดังนี้
     1) กำหนดโทษสำหรับผู้ขับรถที่ไม่หยุดรถให้คนข้ำมถนนบริเวณทางม้าลายไว้เป็นการเฉพาะและกำหนดโทษให้สูงขึ้น กรณีขับรถชนคนข้ามถนนบนทางม้าลาย
     2) กำหนดให้ศำลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่กับบุคคลที่ขับรถชนคนเดินข้ามถนนบนทำงม้าลายไว้เป็นการเฉพาะ
     3) กำหนดอัตราโทษที่แตกต่างกันตามความเร็วที่เกินจา4กอัตราที่กฎหมายกำหนด และตามสถานที่ที่ขับรถเร็วเกินกำหนด 
     4) ออกประกาศข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการจราจร กำหนดความเร็วในเขตชุมชนต่างๆ 

 #หยุดชะลอจอดก่อน ทางม้าลาย


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar