กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 18 ตุลาคม 2565

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 18 ตุลาคม 2565 ดังนี้

1. ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ

ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 51/2565 ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ภาคใต้ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ติดตามการคาดการณ์

สภาพอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 17 - 18 ตุลาคม 2565 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีน ได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นกับมีลมแรง และมีฝนบางแห่ง ในขณะที่ร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนัก

ถึงหนักมากบางแห่ง ต้องเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก บริเวณภาคใต้ ในช่วงวันที่ 18 - 22 ตุลาคม 2565 ได้แก่ จังหวัดชุมพร (อำเภอหลังสวน ละแม สวี เมืองชุมพร และพะโต๊ะ) จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง กระบุรี ละอุ่น กะเปอร์ และสุขสำราญ) จังหวัดพังงา (อำเภอเมืองพังงา กะปง ท้ายเหมือง ตะกั่วป่า ทับปุด และตะกั่วทุ่ง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง) จังหวัดกระบี่ (อำเภออ่าวลึก) จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอพระแสง ท่าฉาง คีรีรัฐนิคม ท่าชนะ บ้านนาสาร ไชยา พนม พุนพิน เกาะสมุย และเกาะพะงัน) จังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ท่าศาลา และปากพนัง) และจังหวัดสตูล (อำเภอเมืองสตูล)

2. ผลการดำเนินงานตามมาตรการรองรับฤดูฝน ปี 2565

วานนี้ (17 ต.ค. 65) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์น้ำ ความพร้อมรับมือสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ และโครงการพัฒนาแหล่งน้ำต่าง ๆ ในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี โดยได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงาน บูรณาการวางแผนและเตรียม

ความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำ ตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝนอย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการป้องกันและลดผลกระทบ

ที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากพื้นที่ภาคใต้กำลังเข้าสู่ฤดูฝน โดยให้จังหวัด กรมชลประทาน ปภ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เร่งสำรวจจุดที่เสี่ยงน้ำท่วม สิ่งกีดขวางทางน้ำ และรายงานต่อคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดและคณะกรรมการลุ่มน้ำ เพื่อกำหนดมาตรการรองรับต่อไป และมอบหมายให้กรมชลประทาน เร่งสำรวจและซ่อมแซมบำรุงรักษาระบบระบายน้ำ อาคารบังคับน้ำและสถานีสูบน้ำให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และวางแผนเก็บกักน้ำไว้สำหรับฤดูแล้งหน้าด้วย ให้ สทนช. เร่งรัดขับเคลื่อนแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม-น้ำแล้ง เพื่อแก้ไขปัญหาด้านน้ำในระดับพื้นที่ ทั้งใน

ภาวะปกติและภาวะวิกฤติ และให้ทุกหน่วยงาน ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำให้ประชาชนรับทราบเป็นการล่วงหน้าอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้ทุกภาคส่วน บูรณาการพัฒนาปาล์มน้ำมันของ จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อมุ่งสู่ Oil Palm City ส่งเสริมการผลิตปาล์มน้ำมันยั่งยืน และมีการซื้อขายปาล์มน้ำมันที่เป็นธรรมให้เกษตรกร

3. สถานการณ์น้ำท่วม

สถานการณ์อุทกภัยในชุมชนเมืองและพื้นที่เกษตรกรรม ปัจจุบันมี 32 จังหวัด ภาคเหนือ 7 จังหวัด

ตาก พิจิตร นครสวรรค์ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ และอุทัยธานี ภาคกลาง 10 จังหวัด ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม และสระบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

12 จังหวัด ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และหนองบัวลำภู และภาคตะวันออก 3 จังหวัด นครนายก ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา

ข้อมูล กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ


image รูปภาพ
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar