อย่าเชื่อ อย่าแชร์ “ข่าวปลอม” เรื่องใบสั่งจราจร เช็กก่อน ชัวร์กว่า “ใบสั่งจราจร” ส่งทางไปรษณีย์ ตรวจสอบได้ ของจริง หรือปลอม

อย่าเชื่อ อย่าแชร์ “ข่าวปลอม” เรื่องใบสั่งจราจร เช็กก่อน ชัวร์กว่า “ใบสั่งจราจร” ส่งทางไปรษณีย์ ตรวจสอบได้ ของจริง หรือปลอม

แชร์ “ข่าวปลอม” กันเยอะ จนสร้างความเข้าใจผิดกรณีใบเตือนจ่ายค่าปรับจราจร ซึ่งไม่มีภาพรถ ถูกอ้างว่าเป็นใบสั่งปลอม กลอุบายหลอกโอนเงินจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์

พ.ต.อ.ชินวุฒิ ตั้งวงษ์เลิศ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.) หรือ PCT เปิดเผยว่า ตามที่มีข้อความปรากฏในช่องทางออนไลน์ พร้อมภาพใบสั่งจราจร ที่ส่งทางไปรษณีย์โดยไม่มีรูปภาพรถที่ได้กระทำความผิดกฎจราจร พร้อมข้อความระบุว่า

“ค่าปรับจราจร จะต้องมีรูปรถเราตอนผิดกฎจราจรด้วยนะครับ ส่งเป็นใบแบบไม่มีรูป ไม่ใช่จดหมายราชการ แต่เป็นแก๊งดูดเงินนะครับ เริ่มโดนกันแล้วภัยรูปแบบใหม่รับจดหมายลงทะเบียนแล้วเขาให้สแกนคิวอาร์โค้ด โดนไปแสนกว่าบาทจากบัตรเครดิต เปลี่ยนจาก call center เป็นหนังสือราชการ ถึงตัวเลย ระวังห้ามสแกนบาร์โค้ดเด็ดขาด..ให้บอกคนในบ้านทุกคนด้วยอันตรายจริง ๆ”

ศูนย์ PCT ชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าว “เป็นข้อมูลเท็จ” ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง โดยภาพใบสั่งที่มีการแชร์ เป็นของจริง

“ข้อเท็จจริงคือ การออกใบสั่งเขียน หรือใบสั่ง อิเล็กทรอนิกส์ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 140 และมาตรา 141 ที่ทำการส่งไปรษณีย์ไปยังเจ้าของรถ เจ้าหน้าที่จะต้องทำการลงระบบ PTM”

“ใบสั่งที่ส่งถึงท่านครั้งแรกจะปรากฏรูป รถ ทะเบียน ข้อหาที่กระทำความผิดโดยระบบอัตโนมัติ แต่หากไม่ชำระค่าปรับภายใน 7 วัน ระบบจะส่งใบเตือนไปยังเจ้าของรถทางไปรษณีย์ ซึ่งในใบเตือนจะไม่มีภาพรถ โดยในใบสั่งมีสาระสำคัญจะมีนายตำรวจระดับสารวัตรขึ้นไปเป็นผู้ลงนาม ประกอบกับข้อมูลการชำระค่าปรับทางระบบอิเล็กทรอนิกส์” พ.ต.อ.ชินวุฒิฯ กล่าว

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ PCT ย้ำว่า ผู้ได้รับใบสั่งจราจร สามารถตรวจสอบความถูกต้อง ว่าเป็นใบสั่งจริงหรือไม่ ได้ที่ https://ptm.police.go.th หรือโทรสอบถามโดยตรงที่สถานีตำรวจที่ออกใบสั่งดังกล่าว

“ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลข่าวปลอมดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ หากต้องการตรวจสอบข้อมูลที่อาจถูกบิดเบือนหรือไม่ทราบแหล่งที่มาที่แน่ชัด ที่ส่งต่อกันในสังคมออนไลน์ สามารถตรวจสอบได้ที่ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย (Anti-Fake News Center Thailand) http://antifakenewscenter.com และหากพบเบาะแส หรือข้อสงสัยเรื่องภัยออนไลน์ต่าง ๆ สามารถแจ้งหรือสอบถามได้ที่ สายด่วน บช.สอท. 1441 หรือ ศูนย์ PCT 081-8663000

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แนะนำข้อสังเกตสำคัญ หากท่านชำระค่าปรับจราจรทางธนาคาร เป็นบัญชีธนาคารกรุงไทย ชื่อบัญชี “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ-ค่าปรับจราจร” เท่านั้น

ขณะที่ ผู้เสียหายสามารถแจ้งความออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ www.thaipoliceonline.com

ข้อมูล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ


image รูปภาพ
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar